กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลตำบลบ่อทอง ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L7012-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 48,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาตีกอห์ มะลอทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้ให้ความสำคัญ กับการสร้างเสริมและพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งงานอนามัยแม่และเด็กนับได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากในปี 2563 จำนวนการเกิดของเด็กไทย ลดต่ำกว่า 600,000 คน/ปี เป็นครั้งแรก และมีแนวโน้มจะลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราเจริญพันธ์โดยรวมลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือกล่าวได้ว่าสตรี 1 คน จะมีบุตรน้อยกว่า 2 คน และในขณะเดียวกัน ประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่รวดเร็ว รัฐบาลจึงมอบหมายให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2560 มีเจตจำนงที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต โดยร่วมกันผลักดันในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป่าหมายในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงสอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การเกิดอย่างมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคต้องร่วมมือกัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต (1,000 วันแรก : ตั้งแต่ในครรภ์ ถึง 2 ปี) เพราะเป็นช่วงเวลาสำคัญของกระบวนการพัฒนาการด้านร่างกายและสมอง ส่งผลต่อน้ำหนักทารก ภาวะเบี้ย ภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่าคุณภาพ จะทำให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสูงสุด โดยจะต้องมีกระบวนการดุแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการจะดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการบูรณาการทั้ง 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมาย เด็กไทย แข็งแรง เก่งดี มีวินัย ไฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนา และอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการสร้างต้นน้ำ (คุณภาพ) เกิดขึ้นได้จริง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของภาคี 4 กระทรวงร่วมบูรณาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์เร็วสนับสนุนส่งเสริมภาวะโภชนาการให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาวะที่ดี เสริมสร้างความรอบรู้ให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ร่วมเฝ้าระวังป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลทำให้คลอดก่อนกำหนด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงการเฝ้าระวัง ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพเป็นอนาคตของประเทศชาติ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกในชุมชน และสถานประกอบการในพื้นที่

 

80.00
2 เพื่อสนับสนุนส่งเสริมโภชนาการให้หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด

 

80.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องการการคลอดบุตรก่อนกำหนด

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชาสัมพันธ์/คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย(12 พ.ค. 2566-19 ก.ย. 2566) 0.00            
2 กิจกรรมให้ความรู้(20 ก.ย. 2566-22 ก.ย. 2566) 48,575.00            
3 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน(26 ก.ย. 2566-26 ก.ย. 2566) 0.00            
รวม 48,575.00
1 ประชาสัมพันธ์/คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 48,575.00 1 48,575.00
20 - 22 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด 120 48,575.00 48,575.00
3 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 0.00
12 พ.ค. 66 - 19 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์ 0 0.00 0.00
26 ก.ย. 66 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 : ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกระบวนการดำเนินงานเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกับภาคีเครือข่าย            กลุ่มเป้าหมาย อสม. ภาคประชาชน ผู้นำชุมชน จิตอาสา แกนนำนักเรียน จำนวน....41...คน กิจกรรมที่ 2 : ค้นหาหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ANC สัญจรในสถานประกอบการพื้นที่เป้าหมาย พร้อมสนับสนุนชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง (urine preg test) คนละอย่างน้อย 2 ครั้ง
กลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ เดือนละ 1 ครั้งๆ กิจกรรมที่ 3 : ส่งเสริมโภชนาการให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยสนับสนุนไข่และนมจืด ตลอดการตั้งครรภ์ เป็นระยะเวลา 180 วัน/คน กลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ทุกคน กิจกรรมที่ 4 : พัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 1 พัฒนาทักษะ V1 – V2 V1 : การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร V2 : การเข้าใจ Key massage 8 ข้อควรหลีกเลี่ยง และ 4 อาการเร่งด่วนต้องมาพบแพทย์
ครั้งที่ 2 พัฒนาทักษะ V3 – V5
V3 : การไต่ถาม V4 : การตัดสินใจ
V5 : การนำไปปฏิบัติ
ครั้งที่ 3 : ทบทวนทักษะ V1 – V5

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
  2. หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพรอบด้านเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับหน่วยบริการ
  3. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 10:16 น.