กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน-มัน-เค็ม ลดโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L4131-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาตีเม๊าะ อารี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุ่นทรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การดำเนินงานคือ คัดกรองและจำแนกเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย หลังจากดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ.2 ส. เพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคและมีการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดโรค โดยให้ประชาชน รับรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงภาวะเสี่ยง สามารถปรับพฤติกรรมควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีจุดมุ่งหมายในการลดการป่วยและการตายของประชาชนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ไม่สามารถดำเนินการในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ หากแต่ต้องเป็นการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้านการรักษาพยาบาลในประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการขึ้น และด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจในภาวะที่เกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้สามารถดูแลตนเองได้ ไม่เป็นภาระให้กับครอบครัวและสังคมโดยอาศัยการดำเนินงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ 11 หมู่บ้านในปี 2564 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 650 ราย มีภาวะโรคแทรกซ้อน 55 ราย โรคเบาหวาน 100 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 10 ราย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 226 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 20 ราย โคความดันโลหิตสูง จำนวน 191 ราย ควบคุมโรคได้ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 62.82 โรคเบาหวานจำนวน 56 ราย ควบคุมน้ำตาลได้ 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.07 จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ เป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้เข้าร่วมกลุ่ม และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60

3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน

4 เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 19,100.00 1 19,100.00
11 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย, การติดตามและประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ 100 19,100.00 19,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60
  3. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยบ้าน
  4. จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:49 น.