กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวชวนเดินวิ่ง สานรัก ปลูกผักกินเอง
รหัสโครงการ 66-L3356-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายถาวร คงศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและต่อเนื่อง
80.00
2 ร้อยละของกิจกรรมออกกำลังกายเป็นกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพคนในครอบครัวและสังคม
80.00
3 ร้อยละของครอบครัวที่มีการปลูกผักกินเอง
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลนาท่อม มีจำนวน 1,915 ครัวเรือน ครอบครัวที่ไม่มีกิจกรรมทางกายร่วมกัน 383 ครัวเรือน ครอบครัวที่มีกิจกรรมทางกายร่วมกัน 1,532 ครัวเรือน ด้านสุขภาพขาดการดูแลตนเองเช่นการออกกำลังกายที่เพียงพอของสมาชิกในครอบครัวด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมปัจจุบันเป็นสังคมครอบครัวต่างคนต่างอยู่มีโลกส่วนตัวมากขึ้นขาดการพูดคุยสมาชิกในครอบครัว เป็นสังคมออนไลน์มากขึ้น ด้านการศึกษา การช๊อปปิ้งต่างๆ ขาดการมีสัมพันธภาพในครอบครัว จากการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นำไปสู่ความอ่อนแอทางสังคมในมิติของครอบครัวเพิ่มขึ้นเกิดปัญหาที่ได้รับผลกระทบในทุกระดับของประเทศตลอดถึงครอบครัวในยุคปัจจุบันที่มีรูปแบบแตกต่างและหลากหลายแม้จะมีการช่วยเหลือเยียวยาในเชิงนโยบายแล้วก็ตามสภาพปัญหาของครอบครัวยังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงในครอบครัวที่เริ่มก่อตัวมาจากเรื่องสัมพันธภาพและการสื่อสารในครอบครัวการอบรมเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเด็กผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง หลังโควิด 19 สถานการณ์สังคมครอบครัวที่ปรับเปลี่ยนไปสู่โลกใช้ออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน การเรียนออนไลน์ซื้อของออนไลน์ สื่อสารออนไลน์มีผลกระทบทั้งบวกและลบมาจากการเกิดโรคระบาดโควิด 19 ทำให้สภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนไป ด้านปัญหาเดิมทียังไม่ถูกแก้ เช่นอบายมุข การพนันบุหรี่ เหล้า สารเสพติดของสมาชิกในครอบครัว การติดเกมส์ท้องก่อนวัยอันควร การออกกำลังกายไม่เพียงพอล้วนส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งของครอบครัว และนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว ทะเลาะ พ่อแม่ทุบตีกัน พ่อแม่พูดจาไม่เพราะ เด็กหนีออกจากบ้านตามมานำไปสู่ความอ่อนแอและเป็นครอบครัวเปราะบาง ครอบครัวไม่สามารถดูแลกันเองได้และเด็กหนีจากบ้านไม่ไปโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อสังคมด้านเศรษฐกิจพ่อแม่หย่าร้าง แยกกันอยู่เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นหม้าย เป็นครอบครัวเปราะบางในที่สุดหากินคนเดียวเลี้ยงครอบครัวลำบากเป็นหนี้สินประสบปัญหาต้องช่วยกันดูแลภาระของสังคม กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีกลไกภาครัฐออกมาจำนนวนมากในการจะพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง เช่น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม ได้นำเสนอ โครงการ " ครอบครัวชวนเดินวิ่ง สานรัก ปลูกผักกินเอง"เป็นกิจกรรมทางกายดำเนินการในวันเสาร์เป็นกิจกรรมลักษณะในรูปแบบของค่ายครอบครัวในวันสรุปกิจกรรม โดยระหว่างทางใช้กิจกรรมในแปลงผักกับสมาชิกของครอบครัวที่ปลูกผักแล้วนำกลับมาทำเมนูกินร่วมกันของเด็กๆและครอบครัวตอนปิดโครงการ โดยโครงการจะแก้ปัญหาเด็กไม่กินผัก ครอบครัวขาดสัมพันธภาพระหว่างผู้ปกครองกับเด็กและครอบครัวขาดกิจกรรมทางกาย โดยหลังจากจบโครงการนี้แล้วศูนย์พัฒนาครอบครัวจะนำชุมชนและครอบครัวไปสู่กิจกรรมแก้ปัญหาอื่นๆได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและต่อเนื่องของคนในชุมชน

ร้อยละการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและต่อเนื่องของคนในชุมชน

80.00 95.00
2 เพิ่มสมาชิกในครอบครัวที่ปลูกผักกินเองเพิ่มขึ้น

ร้อยละของครอบครัวปลูกผักกินเองเพิ่มขึ้น

60.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,500.00 0 0.00
22 เม.ย. 66 สร้างความเข้าใจและออกแบบกิจกรรมของคณะทำงานศูนย์ พัฒนาครอบครัว 0 1,100.00 -
29 เม.ย. 66 อบรมให้ความรู้ผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการครอบครัวชวนเดินวิ่ง สานรัก ปลูกผักกินเอง ในวันเสาร์ 0 3,100.00 -
29 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 เพิ่มกิจกรรมทางกายโดย เดิน วิ่ง ปั่น ทุกวัน 0 0.00 -
6 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 รณรงค์ และปฏิบัติครอบครัวชวนเดินวิ่ง สานรัก ปลูกผักกินเอง ในวันเสาร์ 0 4,800.00 -
6 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 เพิ่มกิจกรรมทางทางกายโดยการปลูกผักกินเอง 0 3,500.00 -
30 ก.ย. 66 สรุปกิจกรรมแบบค่ายครอบครัว 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและต่อเนื่อง 2 ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการมีผักที่ปลูกเองไว้กิน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 16:13 น.