กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สำนักขาม รวมใจลดขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5251-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสำนักขาม
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 39,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรัตน์สร ชุมแสง/นางสาววัชรกุล พวงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัญหาขยะเปียก เริ่มกลายเป็นประเด็นใหญ่ทั่วโลกที่ทุกประเทศกำลังร่วมมือกันในการ  ลดการสร้างขยะจากอาหาร อาหารเน่าเสียและถูกทิ้ง สร้างมลพิษที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสร้างแก๊สเรือนกระจก เช่น แก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่ประเทศไทยก็พบปัญหานี้เช่นกัน โดยขยะเปียกคิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งขยะส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจากการแยกขยะที่ไม่ถูกต้อง การจัดการขยะที่ใช้การฝังกลบรวม และไม่มีระบบจัดการที่ถูกสุขาภิบาล ขยะเปียกจากอาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้งในครัวเรือน  อาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านค้า ขยะที่สร้างขึ้นในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิตที่มีวัตถุดิบเหลือใช้ และการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดีทำให้เกิดการเน่าเสีย แม้ปริมาณต่อคนจะไม่มาก แต่ถ้าทุกคนพากันทิ้ง ไม่มีการคัดแยก ไม่มีการจัดการที่ดีเพียงพอ ขยะอาหารที่เป็นของธรรมดาๆ ก็ก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่อย่างใหญ่หลวงได้ไม่ยาก  ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี เช่น โรคท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ ภูมิแพ้ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารอื่นๆ ที่เกิดจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรียจากการสะสมของขยะ เพียงแค่ก๊าซที่เกิดจากการหมักตัวของขยะมูลฝอยก็ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวอาเจียนได้แล้ว การขยายตัวของพาหะนำโรคเช่นหนู และแมลงวัน จากกองขยะอาหารที่ไม่ได้ถูกกำจัด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณของการย่อยสลายขยะ ปริมาณขยะโดยรวมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขยะปกติบางประเภทที่สามารถรีไซเคิลได้เมื่อมีการปนเปื้อนขยะอาหารในปริมาณมากก็ไม่สามารถที่จะนำมารีไซเคิลใหม่ได้  จำเป็นต้องเข้ากระบวนการกำจัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มอบนโยบายการดำเนินโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 โดยให้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ให้ครบทุกครัวเรือน รวมศึกศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาในสังกัด เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือน ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่นๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยที่ได้จากการหมักขยะเปียก ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลสำนักขามได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการจัดการขยะเปียกและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และนโยบายจังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำ โครงการ“สำนักขาม” รวมใจลดขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจถึงปัญหาขยะ ร่วมกันคัดแยกขยะในครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการให้ความรู้การจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน ร้อยละ 80 ของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านเทศบาลตำบลสำนักขาม

2 2. เพื่อขับเคลื่อนและขยายเครือข่ายการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน

ครัวเรือนมีการดำเนินการครบ 1,400 ครัวเรือน

3 3. เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ประชาชนร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องถังขยะเปียกครัวเรือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์(22 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00              
2 2.กิจกรรมการประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ(22 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00              
3 3.กิจกรรมให้ความรู้การจัดทำถังขยะเปียกในชุมชน(22 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00              
4 4.ภาคปฏิบัติการดำเนินการจัดทำถงขยะเปียกในชุมชน(22 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00              
รวม 0.00
1 1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2.กิจกรรมการประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 3.กิจกรรมให้ความรู้การจัดทำถังขยะเปียกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 4.ภาคปฏิบัติการดำเนินการจัดทำถงขยะเปียกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะจากต้นทาง   2. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้กระบวนการหมักขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยและร่วมกันจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 09:33 น.