กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-50110-02-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 61,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบังอร เนาวบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.872,101.43place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
4.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
2.00
3 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน
5.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

4.00 70.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในตำบล โรงเรียน และชุมชน

เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในตำบล โรงเรียน และชุมชน

90.00
3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนทำ Big Cleaning Day ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 80

80.00
4 เพื่อลดจำนวนและอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ

จำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2551-2565)

80.00
5 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และ CDCU ตำบล(1 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                    
2 อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ แกนนำนักเรียน และ อสม.(1 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                    
3 รณรงค์ สำรวจพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย(1 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                    
4 ค่าวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อเกิดการระบาด(1 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                    
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และ CDCU ตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ แกนนำนักเรียน และ อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 รณรงค์ สำรวจพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 ค่าวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อเกิดการระบาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 61,300.00 4 61,300.00
1 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และ CDCU ตำบล จำนวน 50 คน 50 9,250.00 9,250.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ แกนนำนักเรียน และ อสม. จำนวน 90 คน 90 17,900.00 17,900.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 รณรงค์ สำรวจพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวนหมู่ละ 50 คน (ทำวันละหมู่ จำนวน 5 วัน 5 หมู่) 50 15,900.00 15,900.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ค่าวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อเกิดการระบาด 0 18,250.00 18,250.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง
  5. แกนนำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)/ทีมทีม SRRT เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงาน ควบคุมโรค รู้แนวทางการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 09:57 น.