กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
รหัสโครงการ 60-L6896-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 648,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมหมายยอดเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ข้อ ๗ (4) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ
สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง จึงของบประมาณในการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เพื่อให้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสะดวกในการรายงานระบบออนไลน์และจัดทำรายงานกองทุนตลอดจนการควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง บังเกิดผลดีต่อทางราชการต่อไป ทั้งปัจจุบันและอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2 เพื่อความสะดวกในการรายงานระบบออนไลน์และจัดทำรายงานของกองทุนฯ

มีความสะดวกในการรายงานระบบออนไลน์และจัดทำรายงานของกองทุนฯ มากขึ้น

3 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

4 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การวางแผนงาน

- ประชุมเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กำหนดแผนการดำเนินงาน
- ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ พิจารณาโครงการฯ - ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ
- ประชุมคณะทำงาน
- ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  1. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    • จัดทำหนังสือเชิญประชุม/ระเบียบวาระการประชุม

- ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ
- จัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์/ครุภัณฑ์สำนักงานและอื่น ๆ ในการดำเนินงาน - ขออนุมัติจัดซื้อ/เบิกจ่าย/ยืมเงินและค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าจ้างพนักงานจ้างกองทุนฯ - ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ - ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วยคณะกรรมการต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบกองทุนฯ
และผู้เกี่ยวข้อง - ค่าตอบแทนในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
- ค่ารับรองและพิธีการ - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ อย่างน้อย8ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯอย่างน้อย10ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะทำงานกองทุนฯอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
อย่างน้อย 5 ครั้ง/ปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  3. การรับเงินการจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  4. มีความสะดวกในการรายงานระบบออนไลน์และจัดทำรายงานของกองทุนฯ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2559 15:33 น.