กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L5313-03-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 126,896.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัปสร สุติก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด คือ การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เพื่อแก้ปัญหาเด็กๆ ที่ต้องไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อันเนื่องจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้า ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้สำหรับเด็ก บางรายพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้เงินไว้เพื่อซื้ออาหารเช้า แต่เด็กกลับนำไปซื้อขนมทานเล่นแทน บางครอบครัวเด็กขาดแคลนแหล่งอาหาร ไม่มีเงินซื้อ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล การบริโภคอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อระบบสมองและสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กบางคนต้องดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ เพื่อประทังความหิว เพื่อรอรับประทานอาหารกลางวัน การสนับสนุนอาหารเช้าสำหรับเด็ก จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน จะทำให้เด็กมีความพร้อมและสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดทั้งวัน เด็กร่าเริง แจ่มใส และร่วมทำกิจกรรมในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวเด็กที่มีฐานะยากจน ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการนี้จากหลายๆ แหล่งพบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส สามารถตอบสนองในการทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และด้านสังคม เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการกินอาหารร่วมกัน การแบ่งปัน ที่สำคัญคือ เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือกินอาหารเช้ามากขึ้น อีกทั้งผู้ปกครองให้ความใส่ใจเรื่องอาหารเช้ามากขึ้นเช่นกัน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดมีเขตบริการของศูนย์ คือ หมู่ 5 (บ้านทุ่ง), หมู่ 9 (บ้านคลองขุด), หมู่ 10 (บ้านห้วยไทร), หมู่ 11 (บ้านห้วยมะพร้าว), หมู่ 13 (บ้านทุ่งพัฒนา) และหมู่ 16 (บ้านคลองน้ำเค็ม) ในปีการศึกษา 2565 มีเด็กทั้งหมด 142 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการจัดโครงการ สมองสดใส จิตใจเบิกบาน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเสริมสร้างพัฒนาการ จึงต้องการวิตามินเสริมอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด มีเด็กทั้งหมด 142 คน พบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 53 คน เด็กผอมจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 22.7เด็กอ้วนจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 จากปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง

0.00
2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย

0.00
3 ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

0.00
4 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 126,896.00 6 126,896.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1. เตรียมความพร้อม 0 0.00 0.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 0 1,500.00 1,500.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล 0 17,766.00 17,766.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ 0 84,800.00 84,800.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว 0 14,930.00 14,930.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย 0 7,900.00 7,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการทางร่างกาย และสติปัญญาสมวัย 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแล ร่วมแก้ปัญหาโภชนาการในเด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 00:00 น.