กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. เตรียมความพร้อม 29 มี.ค. 2566 29 มี.ค. 2566

 

ขั้นตอนที่1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกินโดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่  กลุ่มที่1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่งรีบไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็กบางครั้งซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้าสอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับอาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจร็ญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน 43 คน  กลุ่มที่2 เด็กที่มีน้หนักเกินเกณฑ์ จำนวน 10 คน
ขั้นตอนที่2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบลละงู

 

ได้จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 29 มี.ค. 2566 29 มี.ค. 2566

 

-ครูตรวจประเมินน้ำหนัก/ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ -จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ประเมินภาวะทุพโภชนาการทุก 1 เดือน -จัดซื้อที่วัดส่วนสูงจำนวน 1 ชุด

 

-ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน

 

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล 29 มี.ค. 2566 29 มี.ค. 2566

 

ขั้นวางแผน(P) -ประชุมชี้แจ้งแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงาน -แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นดำเนินงาน(D) -ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล ขั้นประเมินผล(C) -สรุปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปและรายงานผลดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงพัฒนางาน(A) -นำผลการดำเนินกิจกรรมมาวิเคราะห์ปรับปรุงเพื่อว่างแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

 

ครูและผู้ปกครองความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ อาหารที่เหมาะสมกับเด็กตามวัย

 

4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ 29 มี.ค. 2566 29 มี.ค. 2566

 

จัดทำอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน เป็นเวลา 80 วัน

 

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน และมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกฑณ์ดีขึ้น

 

5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว 29 มี.ค. 2566 29 มี.ค. 2566

 

-จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเกษตร พันธ์ผักสวนครัว -ครูเเละเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์ฯโดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กช่ยกันดูแลผัก เมื่อผักสมารถรับประทานได้จึงเ็บผักมาปรุงอาหารเพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษ

 

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและพันธ์ผักสวนครัวเพื่อเตรียมไว้จัดกิจกรรมให้เด็กในศูนย์ฯ -เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว เด็กมีความสุข สนุกสนาน ในการลงมือปฎิบัติกิจกรรม

 

6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย 29 มี.ค. 2566 19 มี.ค. 2566

 

-จัดซื้อลำโพงพร้อมไมค์โครโฟน -จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นเเอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง

 

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีลำโพงที่ได้มาตรฐาน -เด็กในศูนย์พัฒเด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะสมตามวัย มีความสุข สนุกสนานกับการทำกิจกรรม