กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ นิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ นิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15,300.00
รวมงบประมาณ 15,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมี คุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองอย่างเหมาะสม การดูแล จัดการ อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก รวมถึงภาวะการเจริญเติบโต เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผอม/เตี้ย เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนจึงมีความจำเป็นมาก ซึ่งในความเป็นจริงมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าควรจะดูแล เฝ้าระวังเรื่องโภชนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อส่งเสริมให้ทารกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม ซึ่งจากสถานการณ์การคลอดที่ผ่านมาพบว่าตั้งแต่ปี 2563 - 2565 มีทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 4 , 2 และ 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 7.14 ,5 และ 17.24) ตามลำดับ และในปี 2566 มีเด็กแรกเกิด - 72 เดือน ทั้งหมด จำนวน 297 คน มีปัญหาเรื่องโภชนาการน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม จำนวน 27 ราย เด็กมีปัญหาโภชนาการน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ท้วม เริ่ม อ้วนและอ้วน จำนวน 32 รายจากข้อมูลข้างต้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ นิคม พัฒนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) ตำบลนิคมพัฒนา ได้ซึ่งทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ มีการดำเนินการแก้ไขปัญหากันไปบ้างแล้ว เช่น การเพิ่มความรอบรู้ของ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล เรื่องการเฝ้าระวัง โภชนาการ การลงพื้นที่สาธิตดัดแปลงเมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักสำหรับกลุ่ม ที่มีปัญหาทุพโภชนาการบางราย การดูแลส่งเสริมโภชนาการ การส่งเสริมการบริโภคที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย ในเด็กที่เข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและกลุ่มเด็กอนุบาล รวมถึงการสนับสนุนนมจืด ไข่ แต่ยังไม่ครอบคลุม และขาดความต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ นิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในการช่วยกันแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังเรื่องโภชนาการ เพราะเด็กที่กำลังจะลืมตาดูโลก และเด็กปฐมวัยกลุ่มนี้ คืออนาคตของชุมชน และประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ ส่งเสริมให้ทารกคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 2500 กรัม 2 เพื่อเฝ้าระวัง ส่งเสริมโภชนาการในกลุ่มเด็กแรกเกิด ถึง 72 เดือน 3 เพื่อสนับสนุนนมจืดและไข่ให้เเก่หญิงตั้งครรภ์ 4 เพื่อสนับสนุนนมจืด และไข่ ให้้แก่ 12 -24 เดือน ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

1 จำนวนทารกที่กลุ่มเป้าหาย  คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2500  กรัม ไม่เกินร้อยละ 7  หรือลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ขึ้นไป
2 เด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน  ได้รับการติดตามเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน
3 หญิงต้ังครรภ์ได้รับนมจืดและไข่ร้อยละ 100 4 เด็ก 12 - 24 เดือน  ที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับนมจืดและไข่  ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง เสนอแผนโครงการแก่ ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดหา/ซื้อนมจืดและไข่ เพื่อสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ
  3. ติดตามตรวจคัดกรองโภชนาการของเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน และกลุ่มหญิงตังครรภ์และทารกแรกเกิด ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทุก 3 เดือน พร้อมทั้งให้คำแนะนำ และส่งต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีที่พบปัญหามาก ขึ้นหรือรายใหม่ที่มีปัญหาโภชนาการ
  4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ลดอัตราการเกิดปัญหาเรื่องคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 2 เสริมแรงและสร้างความรอบรู้และร่วมมือของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีปัญหาโภชนาการในพื้นที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของชุมชนและประเทศต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 15:38 น.