กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเปลี่ยนภัยน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5312-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 73,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ ปากบารา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนันญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การบริโภคน้ำมันทอดซ้ำของประชาชนในชุมชน
60.00
2 น้ำมันพืชใช้แล้วในครัวเรือนถูกเท่ทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัด
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การใช้น้ำมันทอดซ้ำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นไขมันที่ถูกออกซิไดซ์ปริมาณสูงอาจทำให้ ไลโปโปรตีน ชนิดแอลดีแอล มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด จากการศึกษาพบว่า มีกลุ่มสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นในน้ำมันทอดซ้ำ ได้แก่ กรดไขมันไซคลิก ไตรกลีเซอไรด์อัลดีไฮด์ ไตรกลีเซอไรด์ไฮโดรเปอร์ออกไซด์, อัลดีไฮด์ และ โพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือในน้ำมันที่ใช้ทอดมีปริมาณสารโพลาร์เกินกว่า 25% จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย อาทิเช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ในปัจจุบันมีการศึกษาทดลองจำนวนมากเกี่ยวกับการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง เช่น ทำสบู่หรือทำน้ำมันหล่อลื่น โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น แต่เรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบันคือ การผลิตไบโอดีเซล จากน้ำมันพืชใช้แล้วซึ่งมีข้อดีเหนือปิโตรดีเซลหลายด้านทั้งความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่จำนวนมากภายในประเทศ ย้อนกลับไปในปี พ..ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล และโปรดเกล้าให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและได้จดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มจัดทำ “ไบโอดีเซล” ในประเทศไทย ต่อมาได้มีกลุ่มบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาและสานต่อการทำไบโอดีเซลจนเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้สนใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากนัก
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มีจำนวน 7 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 10,811คน มีครัวเรือน 2,988ครัวเรือน มีสถานประกอบการที่พัก/รีสอร์ท ประมาณ 46 แห่ง, ร้านอาหารประมาณ 50 ร้าน, แผงลอยจำหน่ายไก่ทอด/ปาท่องโก/ของทอดต่างๆ ประมาณ 60 แผง เฉพาะแผงลอยของทอดคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วไม่น้อยกว่าวันละ 250 ลิตร หรือ 7,500 ลิตรต่อเดือนโดยที่น้ำมันใช้แล้วของร้านแผงลอยจะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อนำไปผลิตไบโอดีเซลส่วนภาคครัวเรือนคาดว่ามีน้ำมันพืชใช้แล้วประมาณวันละ 100 ลิตร หรือ เดือนละ 3,000 ลิตร หากน้ำมันพืชใช้แล้วของภาคครัวเรือนปล่อยทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อไป ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จึงมีแนวคิดในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำในประชาชน ตลอดจนน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อช่วยลดปัญหาสุขภาพของประชาชนจากการใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้าลดโอกาสเสี่ยงจากการใช้นํ้ามันทอดซํ้า

60.00 85.00
2 เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งน้ำมันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม

ประชาชนได้ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งนํ้ามันพืชใช้แล้วลงสู่สิ่งแวดล้อม

60.00 85.00
3 เพื่อนำน้ำมันพืชใช้แล้วแปรรูปให้เป็นน้ำมันไบโอดีเซลและนำไปใช้ในหน่วยงาน

หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ประโยชน์

60.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 73,300.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา 0 15,000.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดกิจกรรมน้ำมันพืชใช้แล้วแลกไข่ 0 22,000.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว 0 23,000.00 -
8 มิ.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องเปลี่ยนภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ สู่พลังงานทางเลือกไบโอดีเซลตามรอยศาสตร์พระราชา 0 13,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำและลดโอกาสเกิดโรคที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ

  2. หน่วยงานมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องยนต์ทางเกษตร หรือรถบรรทุก

  3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  4. น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มีคุณภาพตามตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2566 00:00 น.