กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L7252-0109
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุกันยา สิเดะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมนูญ วันแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานประกอบการร้านอาหารมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ “อาหาร” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่อาจมองข้ามได้ เพราะอาหารจะส่งผลโดยตรงต่อระบบสุขภาพของผู้บริโภค หากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และสะอาดถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จะส่งผลดีต่อระบบสุขภาพของประชาชนโดยตรง และในทางตรงข้ามหากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีการปนเปื้อน    ไม่สะอาดถูกหลักอนามัย และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ จะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรงเช่นกัน อาจนำไปสู่การเกิดโรคที่มีอาหารเป็นสื่อนำได้ การป้องกันหรือควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องมีการป้องกันจากต้นเหตุนั้นก็คือ เจ้าของสถานประกอบการร้านอาหาร รวมไปถึงผู้สัมผัสอาหารทุกคนในทุกขั้นตอนของการเตรียม ปรุง และเสริฟอาหาร ต้องมีความรู้ มีความตระหนักในการปฏิบัติตัวให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างสูงสุด รวมถึงตลาดซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ผู้ประกอบการได้จำหน่ายสินค้า ประเภทต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารปรุงสำเร็จ และสินค้าอื่นๆที่หลากหลาย ตลาดจึงเป็นสถานที่ที่ต้องมีการดูแล พัฒนา ปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโรคที่ติดต่อทางอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ รวมถึงป้องกันไม่ให้มีสารปนเปื้อน ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ในการนี้ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดโครงการอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนในชุมชน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และให้ผู้ประกอบการเฝ้าระวัง รักษาคุณภาพอาหาร และมีการปรับปรุงคุณภาพให้ประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อการดำเนินงานสอดคล้องกับกฎหมายสาธารณสุข

 

2 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสะเดา

 

3 3) เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และการเกิดสารอันตรายในอาหารไปสู่ผู้บริโภค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) สำรวจสถานประกอบการร้านอาหารที่มีอยู่ทั้งหมดในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดาที่มีการ ขอใบอนุญาตและใบรับรองการแจ้ง จำนวน 80 ราย
2) จัดอบรม ผู้ประกอบการร้านอาหาร - ส่งเสริมความรู้แนวทางการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เพื่อพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)
3) ลงพื้นที่ตรวจประเมินครั้งที่ 1 ตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste
4) ให้ระยะเวลาผู้ประกอบการร้านอาหาร เป็นเวลา 15 วัน เพื่อทำการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารของตนเอง ให้ได้ตามมาตรฐานฯ 5) ลงพื้นที่ตรวจประเมินครั้งที่ 2 ตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)
6) แจ้งผลการตรวจไปยังผู้ประกอบการ หลังจากลงตรวจประเมิน เป็นเวลา 15 วัน หากสถานประกอบการร้านอาหารใดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จะต้องแจ้งให้มีการแก้ไขหลังจากการแจ้ง เป็นเวลา 7 วัน 8) สรุปผลการตรวจจัดทำทะเบียนผู้ประกอบการ จัดทำเกียรติบัตร 9) มอบเกียรติบัตร และป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)
10) สรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) การดำเนินงานสอดคล้องกับกฎหมายสาธารณสุข 2) ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านสุขาภิบาลอาหารเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม 3) ป้องกันการปนเปื้อน และการเกิดสารอันตรายในอาหารไปสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น 4) คุ้มครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 14:57 น.