กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการกำจัดเหา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5248-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายติณณพัศ กล่ำจีน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนหญิงติดเหาประมาณ ๖๐-๗๐ % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเหาจากการมีอาการคันศีรษะ ทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ โดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีม  เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน
โรงเรียนบ้านควนเสม็ดเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้และกำจัดเหาให้นักเรียนในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดเหา และการดูแลสุขภาพบนศีรษะเพื่อให้ปลอดเหา

 

2 • เพื่อกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เป็นเหา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน / กิจกรรม ๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ ๒. ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการป้องกันและการกำจัดเหา ๔. สาธิตวิธี ขั้นตอนการกำจัดเหา
๕. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จากการได้รับการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการกำจัดเหา ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดเหา และการดูแลสุขภาพบนศีรษะเพื่อให้ปลอดเหา และนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่ได้ผลและถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 15:06 น.