กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 66-L1512-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายละม้าย รอดกลิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคมและวัฒนธรรม การใช้ยาสมุนไพรนั้นตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดีมาตั้งแต่อดีตด้วยวิถีธรรมชาติบำบัด สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากพืชสมุนไพรน้อย ทั้งๆที่สมุนไพรเหล่านี้มีอยู่ในชุมชน         ดังนั้นควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน ให้มีสุขภาพที่ดีและมีความรู้ในการนำสมุนไพรไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบ สามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น นอกจากนี้ควรส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร ทำสวนสมุนไพรเรียนรู้ในชุมชน สมุนไพร ซึ่งการจัดทำสวนสมุนไพรในโครงการนี้จะเน้นการปลูกสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขได้คัดเลือกเพื่อใช้ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ดี เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สมุนไพรได้อย่างถูกวิธี ถูกต้อง มีความปลอดภัย และเป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพรไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ปลูกสมุนไพรที่ครัวเรือนในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

ความรู้ก่อน-หลัง อบรมให้ความรู้ในเรื่องสมุนไพร

2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพ

ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำสวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

3 3. เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพรในชุมชน
  1. เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพรในชุมชน การปลูกสมุนไพรพร้อมป้ายให้ความรู้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการและเสนอโครงการ       2.ประชุมวางแผน กำหนด วัน เวลา สถานที่ ในการจัดโครงการ
      3.ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้       4.ทำกิจกรรมปลูกสมุนไพร       5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน       6. รายงานผลการดเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้การใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในการพึ่งพาตนเองเบื้องต้น
    2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปลูกสมุนไพรริมรั้วเพื่อไว้ใช้ภายในครัวเรือนและการรักษาโรค
    3.โครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้     4.มีสวนสมุนไพรเพื่อการศึกษาแก่คนในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสมุนไพร
      สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใช้ในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 23:07 น.