กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน (ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร)
รหัสโครงการ 66-L3344-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชาติ ตาแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246301569,100.1100527place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม การก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ “ ทศวรรษแห่งนวัตกรรมสาธารณสุขมูลฐาน” ของประเทศไทย ที่ยังคงยืนยันในทิศทางการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและต้องการเห็นประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา     การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานในทศวรรษใหม่ จะรวมกระบวนการพัฒนาสุขภาพอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีหัวใจของความสำเร็จอยู่ที่การพัฒนาคนให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล มีสติ รู้จักคิด มีวิธีคิดที่ถูกต้อง เพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ (Development – oriented PHC) ดังนั้นการขับเคลื่อนงานสาธารณสุขมูลฐาน ในรูปลักษณ์ใหม่ที่สร้างความสมดุลระหว่างรูปแบบการให้บริการกับรูปแบบการพัฒนา ที่ต้องอาศัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกระบวนการหรือตัวกลางที่จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ ประชาชนแสดงบทบาท จึงต้องมีการปรับบทบาท อสม.จากบริการไปสู่การพัฒนาเพื่อสังคม
      ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้ อสม. เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดระบบเฝ้าระวังของชุมชน เชื่อมประสานองค์กรปกครองท้องที่และท้องถิ่นในการสร้างและใช้มาตรการทางสังคมของชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นองค์กรที่เข้มแข็งในการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์แบบเรียนรู้จากการทำงาน(Learning by doing) จนเกิดองค์กรเรียนรู้ คือ โรงเรียน อสม. ภายใต้การกำกับ สนับสนุนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และกองทุนสุขภาพตำบลสนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคชุมชน       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร จึงจัดทำโครงการอบรมอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน โดยมีกระบวนการเรียนรู้จากการทำงาน (Learning by doing) และหวังว่าสื่อบุคคล คือ ตัว อสม. จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
เป้าหมาย
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 6 บ้านเขาจันทร์ จำนวน 22 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร จำนวน 8 คน กลยุทธ์     4.1.อบรมเพิ่มพูนความสามารถแก่ อสม. เพื่อรองรับการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการเป็นอสม.นักนวัตกรรมสาธารณสุขมูลฐานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล     4.2.การรณรงค์เฝ้าระวังด้านสุขภาพและโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ให้เป็นตำบล อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร และ อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน
วิธีดำเนินงาน     6.1.ประชุมชี้แจง อสม./ ทีมเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร
6.2.อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยกระบวนการฝึกปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ และเรียนรู้จากการทำงาน
6.3.การติดตามและประเมินผล
- จำนวนผู้เข้าอบรม สัมมนา
- ประเมินความพึงพอใจ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร  ตำบลทุ่งนารี
  อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1.เพื่อพัฒนาอสม.ให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสุขภาพในชุมชน 2.2.เพื่อส่งเสริมให้ อสม.มีโอกาสเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลายหลาย 2.3.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม.สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.4.เพื่อส่งเสริมให้อสม.ที่ได้รับการพัฒนาสามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้อย่างเข้มแข็ง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการบริหาร วิชาการ และการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการชุมชนของตนเอง เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึง อสม.สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2566 11:33 น.