กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ตำบลท่าพญาร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1481-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรูญ นาคพล
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรูญ นาคพล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3218 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 28 พฤศจิกายน 2565 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 37,059 ราย เสียชีวิต 25 ราย กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 5-14 ปี และเด็กแรกเกิด ถึง 4 ปี พบผู้ป่วยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ ชลบุรี และสมุทรสาคร โดยในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 28 พฤศจิกายน 2565 ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะเหลียน ระบุไว้ว่าพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 113 ราย เป็นเพศชาย 49 ราย เพศหญิง 64 ราย โดยในตำบลท่าพญาพบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย เพศชาย1ราย เพศหญิง1ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยทั้ง2ราย พบในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือโรคไข้เลือดออกที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในตำบลท่าพญา จึงต้องมีการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ถือเป็นภารกิจที่ผู้นำในชุมชนต้องช่วยกันกระตุ้นให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ จึงได้จัดทำโครงการ "อสม.ตำบลท่าพญาร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566" เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาดและหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัด และชุมชน และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนเกิดการดำเนินกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ชุมชนดำเนินการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านของตนเองร่วมกับ อสม. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด

2 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ประชาชนในพื้นที่ได้รับเอกสารเผยแพร่ความรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด

3 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และวัด

ร้อยละ100 ของโรงเรียนและวัดที่สำรวจ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI=0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาปัญหา 2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและ อสม. ระยะดำเนินการ 1.ศึกษาพฤติกรรมคนในชุมชน/สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2.ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/อสม./ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา 3.จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 4. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ 5.ดำเนินกิจกรรมรณรงค์แจกเอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด ร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำในหมู่บ้าน และ อสม. 6. จัดทำทะเบียนข้อมูลหลังคาเรือนที่ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ระยะหลังดำเนินการ 1. ติดตามประเมินผล 2. สรุปผลการดำเนินงาน 3. ประเมินผล/สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2566 10:10 น.