กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดีในโรงเรียนประถมศึกษา
รหัสโครงการ 61-L3071-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหะมีดะ บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ ่นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 165 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบันโรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์เป็นโรงเรียนต้นแบบอาหารกลางวันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดี ปรับปรุงสถานที่จัดทำอาหารของโรงเรียน พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้การได้ดีมีความพร้อมถูกสุขลักษณะ และด้านสุขาภิบาล และเพื่อป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน จึงต้องมีการพัฒนาสถานที่ปรุง และจัดทำอาหารกลางวันให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ผู้ประกอบอาหารต้องมีความเข้าใจในการทำอาหาร และนักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน เพื่อที่จะทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และสามารถเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ ได้ โดยได้ดำเนินการตามโครงสร้าง 4 ด้าน ดังนี้แ 1. ด้านบริหารจัดการ ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะครูและกรรมการที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดทำอาหารกลางวันของโรงเรียน ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการในเรื่องการใช้ผักปลอดสารพิษและการทำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโครงการอาหารกลางวัน 2. ด้านภาชนะ จัดหาภาชนะที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอแก่นักเรียน พร้อมทั้งที่ตั้งอุปกรณ์และตู้เย็นถนอมอาหาร ตู้กับข้าวเพื่อใส่อาหารปราศจากเชื้อโรค รวมทั้งเตาแก๊สในการหุงข้าวให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี 3. ด้านสุขอนามัย โรงเรียนจัดทำถังดักไขมัน ถ้งกรองน้ำใช้และให้ความรู้ในการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะแก่แม่ครัว 4. ด้านสถานที่ประกอบอาหาร ในการประกอบอาหารในปัจจุบันจะต้องใช้โต๊ะที่มีอยู่ ซึ่งมีสภาพเก่าและชำรุดมาก จึงจำเป็นต้องจัดหาโต๊ะที่แข็งแรงเพื่อวางอาหารและการประกอบอาหาร ส่วนโต๊ะนักเรียนที่รับประทานอาหาร ก็ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ไม่เพียงพอในการรับประทานอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ

- ประชุมชี้แจง แต่งตั้งคณะทำงาน 2. ขั้นดำเนินการ
- สำรวจข้อมูลนักเรียนที่ขาดแคลนอาหารกลางวัน
- จัดทำถังดักไขมัน, ถังขยะแยกประเภท, ถังกรองน้ำใช้
- จัดกิจกรรมอาหารกลางวันให้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 3. ขั้นสรุปผล - ประเมินผลการดำเนินงาน - สรุปและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง
  2. นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  3. นักเรียนขาดเรียนน้อยลงและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2560 10:55 น.