กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม โภชนาการ พัฒนาการ วัยเด็ก
รหัสโครงการ L7250-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอสม.ชุมชนกุโบร์
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 82,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดา บัวใหญ๋ ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนหน้าค่ายรามคำแหง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.200374,100.595144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วง 1-5 ปีแรก พ่อแม่ควรเฝ้าดูพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์ทุกด้าน หรือหากมีปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้แต่เนิ่น ๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรทราบถึง โภชนาการ พัฒนาการที่เหมาะสมของลูกน้อยตามช่วงวัย เรียนรู้วิธีส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการ และหัดสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อคอยดูแลให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย ช่วงวัย 3 ปีแรกของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของสุขภาพในทุกมิติต่อช่วงอายุที่เหลือของเด็กเป็นระยะที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการทุกๆด้าน เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้เอง หยิบอาหารกินเอง พูดสื่อสารอย่างง่ายๆได้ แก้ปัญหาเล็กน้อยด้วยตัวเองได้ ผู้เลี้ยงดูหลักเปรียบเสมือนกุญแจดอกแรกที่จะเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นเสมือนโลกใบแรกของเด็กนับตั้งแต่แรกเกิดอีกด้วย เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งความรัก เป็นพื้นที่ปลอดภัย แหล่งการเรียนรู้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดูเกิดขึ้นตลอดเวลาผ่านการสัมผัส การดูแลใกล้ชิด ความผูกพันที่มีต่อเด็กอยู่ตลอดเวลาผ่านทางการเอาใจใส่ จนทำให้เด็กมีความสุข พอใจกับสิ่งที่ตนเองได้รับการตอบสนองจะพัฒนาเป็นความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิตในช่วงต่อๆไปด้วย จากข้อมูลการติดตามมารดา-ทารกหลังคลอด ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ พบว่า ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 10.25 ทารกรับประทานนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 34.33 เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อ 4 ราย เด็ก 0 – 6 ปี น้ำหนักน้อย ร้อยละ 12.05 ค่อนข้างน้อย 6.25 ซึ่งปัจจุบันมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ยังมีพัฒนาการล่าช้า หรือมีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ครอบครัวมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย หากครอบครัวเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม ลูกได้รับความสัมพันธ์ที่อบอุ่นจากพ่อแม่ พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกิจกรรมต่างๆกับลูก บุคคลในครอบครัวดำเนินชีวิตเป็นสุข พ่อแม่ได้จัดเวลา จัดอาหาร จัดสถานที่ ให้ลูกเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย และเล่นอย่างปลอดภัย ลูกก็จะมีพัฒนาการที่เติบโตสมวัย มีอารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใส ส่งผลให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุด พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมในทุกๆด้าน

1.ร้อยละ95 ของเด็ก 0 - 6 ปีมีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์

95.00
2 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีโภชนาการเหมาะสม

2.ร้อยละ 75 เด็ก มีโภชนาการสมส่วน ตามเกณฑ์

75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ นมแม่ดีที่1/ส่งเสริมพัฒนาการสมวัย/วัคซีนตามเกณฑ์(20 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 81,200.00            
2 กิจกรรมประชุมติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ(20 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 1,200.00            
รวม 82,400.00
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ นมแม่ดีที่1/ส่งเสริมพัฒนาการสมวัย/วัคซีนตามเกณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 81,200.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารกลางวัน 40 2,400.00 -
20 เม.ย. 66 - 20 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม 40 1,200.00 -
20 เม.ย. 66 - 20 ส.ค. 66 ค่านมจืด 30 63,000.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าไข่ไก่ 30 12,600.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าวัสดุอุปกรณ์และจัดเมนูชูสุขภาพ 0 2,000.00 -
2 กิจกรรมประชุมติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,200.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม 30 900.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าจัดทำเอกสาร 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แม่-ลูก สุขภาพดี พัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2566 16:02 น.