กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงพยาบาล 1,000 เตียง ผูกพันใจ ห่วงใยชาวบ่อยาง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L7250-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 305,288.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนนทิพา เอกอุรุ ตำแหน่ง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.199352,100.594114place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครสงขลา มีพื้นที่ทั้งสิ้น 9.27 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรในปี พ.ศ.2565 57,633 คน อ้างอิงจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครสงขลา เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 ซึ่งแบ่งเป็นประชากรช่วงอายุ 0 - 14 ปี จำนวน 8,497 คน ประชากรช่วงอายุ 15 - 59 ปี จำนวน 37,408 คน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11,728 คน ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 265 ราย ผู้พิการจำนวน 1,741 ราย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 9,322 ราย ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน จำนวน 34 ราย ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 142 ราย และผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 213 ราย ภายในเขตเทศบาลนครสงขลามี ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสงขลา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ และศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลาจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลารวมใจ และศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ จากการลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านพบสภาพปัญหาผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ยังขาดการดูแลที่เหมาะสมจากผู้ดูแลและครอบครัว ไม่มีเตียงนอนที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ บางรายมีการติดเชื้อที่ปอดจากการสำลักอาหาร ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เกิดผลเสียแก่สุขภาพผู้ป่วย และทำให้เกิดความแออัดของโรงพยาบาล ผู้ดูแลมีความเครียดจากค่าใช้จ่ายในการดูแล ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไข จะมีความรุนแรงส่งผลกระทบด้านสังคม และเศรษฐกิจ จากภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งภาครัฐและประชาชน ดังนั้น เทศบาลนครสงขลาจึงได้จัดตั้งกองทุน LTC ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพของหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา และได้รับงบประมาณโครงการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพในชุมชน “ศูนย์สร้างสุขชุมชนเทศบาลนครสงขลา” จากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ในการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชนเทศบาลนครสงขลา เพื่อให้บริการฟื้นฟูสุขภาพแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง โดยมีผู้ช่วยฟื้นฟูที่ผ่านการอบรมจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยดังกล่าวข้างต้น แต่เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ กายอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และจำเป็นต้องได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสหวิชาชีพและประเมินอาการที่บ้านพร้อมให้คำปรึกษา ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเฉพาะโรค ควบคู่กับการรับบริการทางกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงเห็นความจำเป็นในการจัดทำโครงการโรงพยาบาล.1,000.เตียง ผูกพันใจ ห่วงใยชาวบ่อยาง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรับบริการทางการแพทย์ในเชิงรุก ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการยกระดับการรักษาและให้บริการประชาชนในด้านการส่งเสริม รักษา ป้องกัน ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลาอย่างเต็มรูปแบบ เน้นการรักษาผู้ป่วยใน ที่บ้าน (Home ward) และการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน (Home health care)
1. วัตถุประสงค์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรับบริการทางการแพทย์ในเชิงรุกและเชิงรับ โดยทีมสหวิชาชีพเทศบาลนครสงขลาและเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา
  1. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรับบริการทางการแพทย์ในเชิงรุกและเชิงรับ โดยทีมสหวิชาชีพเทศบาลนครสงขลาและเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา
60.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  1. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
60.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและญาติมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
  1. ผู้ป่วยและญาติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
60.00
4 4. เพื่อให้คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบ เข้าใจในการดำเนินงาน และตรงตามวัตถุประสงค์
  1. คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบ เข้าใจในการดำเนินงาน และตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมปรึกษาหารือกับคณะทำงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ญาติในการดูแลผู้ป่วย(20 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 9,000.00            
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเยี่ยมและประเมินอาการผู้ป่วยที่บ้านพร้อมให้คำปรึกษา ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเฉพาะโรค การทำกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ตามแผนงานที่กำหนดโดยทีมสหวิชาชีพเทศบาลนครสงขลาและเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา(20 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 63,888.00            
3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้บริการยืม-คืน อุปกรณ์ทางการแพทย์(20 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 232,400.00            
รวม 305,288.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมปรึกษาหารือกับคณะทำงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ญาติในการดูแลผู้ป่วย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 9,000.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 9,000.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเยี่ยมและประเมินอาการผู้ป่วยที่บ้านพร้อมให้คำปรึกษา ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเฉพาะโรค การทำกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ตามแผนงานที่กำหนดโดยทีมสหวิชาชีพเทศบาลนครสงขลาและเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 63,888.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2.4 x 4.8 เมตร จำนวน 2 ป้าย 0 3,456.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย 0 432.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ 0 60,000.00 -
3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้บริการยืม-คืน อุปกรณ์ทางการแพทย์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 232,400.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ป้ายอะคริลิคศูนย์ยืม-คืน เตียงและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมเสา รวมค่าติดตั้ง 40,000 บาท ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 0 40,000.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ที่นอนเบาะลม 0 45,000.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 รถเข็นนั่ง 0 71,800.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ไม้เท้า 3 ขา 0 9,000.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ไม้เท้าปุ่มเดียว 0 4,800.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 เครื่องดูดเสมหะ 0 42,000.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 เก้าอี้นั่งถ่าย 0 19,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรับบริการทางการแพทย์ในเชิงรุกและเชิงรับ โดยทีมสหวิชาชีพเทศบาลนครสงขลาและเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา
  2. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและญาติมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้ป่วยในครอบครัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
  4. คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบและเข้าใจในการดำเนินงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 08:49 น.