กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสุขภาพจิตประชาชนวัยทำงาน ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประชากรทั่วโลก โดยพบว่าโรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคที่พบได้มากที่สุด จำนวน 26 ล้านคน และโรคจิตเภท ก็เป็นโรคจิตทางจิตเวชที่พบมากที่สุดในประเทศไทย แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่่สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั่วโลก 1 ใน 3 มีประวัติการกลับเข้ารักษาซ้ำ และมีอาการรุนแรงตลอดชีวิต ที่เหลือ 2 ใน 3 จะมีอาการเรื้อรังตลอดชีวิต ผลกระทบของโรคจิตเภทเกิดขึ้นต่อบุคคลครอบครัวและชุมชน ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ป่วย ก่อให้เกิดภาวะโรคเรื้อรังและความพิการมีความพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และทักษะการเข้าสังคม ส่งผลต่อครอบครัวที่ต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้ป่วยเป็นเวลานาน เป็นตราบาป (Stigma) ครอบครัวถูกตีตรา ญาติรู้สึกอับอายที่มีผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในครอบครัว ชุมชนได้รับผลกระทบหรือความเสียหาย เดือนร้อนรำคาญ ชุมชนรู้สึกรังเกียจและกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย อีกทั่งยังมีทัศนคติไม่ถูกต้องต่อผู้ป่วยกลายเป็นความรังเกียจ ปิดกั้นโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งทัศนคติสังคมต่อผู้ป่วยทางจิตได้แบ่งประเภทของบุคคลออกจากกลุ่มคนปกติโดยชัดเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทกลายเป็นคนส่วนน้อยของสังคม ถูกละเมิดสิทธิและสถานภาพของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมกลายเป็นส่วนเกินของสังคม ส่งผลให้ผู้ป่วยถูกโดดเดี่ยวไม่ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต รวมทั้งการปรับตัวเข้ากับสังคม ในสังคมปัจจุบันนี้ทุกชีวิตต้องเผชิญปัญหามากมาย แก้ปัญหานี้เสร็จก็มีปัญหาอื่นๆ เข้ามาให้ขบคิดมากมาย บางคนก็ค่อยๆแก้ ค่อยๆคลาย แต่บางคนยิ่งแก้ปัญหาก็ยิ่งพันตัว ดูวุ่นวายไปหมด และก็มีอีกหลายชีวิตที่ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการหันหลังให้กับความจริงและท้ายที่สุดก็ย้ายตัวเองไปอยู่บ้านใหม่ที่ตัวเองไม่รู้จักและไม่รู้จักใครอีกเลย มีหลายชีวิตที่แก้ปัญหาหนักไปอีกคือทำร้ายตัวเอง ตั้งแต่เสพยาเสพติดจนถึงการทำร้ายชีวิตตน ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่มีปัญหาเพียงแต่ว่า เมื่อเกิดปัญหาแล้วตัวเรามีพลังใจ มีแรงกายที่จะคิดแก้ไขหรือไม่ ถ้ามีพลังที่จะแก้ไขปัญหาเราก็จะชนะการชนะปัญหาใดๆ ได้เราต้องเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี ยอมรับความจริง รู้และเท่าทันโลกของการเปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้มีคนไข้โรคประสาท โรคจิตเดินเข้าออกในโรงพยาบาลมากขึ้น ยิ่งสังคมเสื่อมเท่าไร มโนธรรมต่ำลงเท่าไร ความยับยั้งชั่งใจของคนก็ตกต่ำลงเท่านั้นปัญหาต่างๆ ก็จะเข้ามารุมเร้ามีแนวทางหนึ่งที่จะประคองให้บุคคลพ้นจากความวิกฤติต่อปัญหาต่างๆลงบ้าง ได้แก่ การรักษาสุขภาพจิตให้ดี รักษาร่างกายให้แข็งแรง มองโลกตามจริงแก้ไขปัญหาที่ละขั้น เชื่อว่าปัญหาจะทุเลาลงได้ แต่ใช่ว่าปัญหาจะหมดไป แก้ปัญหานี้แล้วอาจมีปัญหาอื่นเข้ามาเราก็ค่อยๆแก้ ยิ่งเราโตขึ้นวุฒิภาวะเรามีมากขึ้นแนวทางหรือช่องทางในการแก้ไขปัญหาก็จะมีหลายวิธีขึ้นอย่างไรก็ดีจงสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เป็นเสมือนภูมิคุ้มกัน เมื่อนั้นทุกอย่างจะออกมาดี ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลเขาไพร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองสุขภาพจิต จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองสุขภาพจิตประชาชนวัยทำงานปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง และบุคคลในครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ให้มีสุขภาพจิตที่ดีและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับประชาชนวัยทำงาน

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขกับการทำงาน

 

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีเทคนิคการผ่อนคลายความเครียด

 

4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการแนะนำวิธีคลายความเครียดให้กับบุคคลอื่นได้

 

5 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการแนะนำวิธีคลายความเครียดให้กับบุคคลอื่นได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดกิจกรรมการสร้างสุขในการทำงาน
  3. วางแผนการดำเนินงานพร้อมระบุวัน เวลา และสถานที่ในการทำงาน
  4. ประชุมชี้แจงสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน
  5. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการคลายเครียดที่ถูกต้อง
  6. จัดทำคู่มือความรู้สุขภาพจิตที่ดี สร้างสุขในการทำงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนวัยทำงานมีสุขภาพจิตที่ดี
  2. ประชาชนวัยทำงานสามารถนำเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสร้างสุขในการทำงานได้
  3. ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง และคนในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 10:57 น.