กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคด้วยสมุนไพรไทย ปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคด้วยสมุนไพรไทย ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคืน จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ประชาชนตำบลเขาไพร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรูปแบบเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดออกาโนฟอสเฟตและคาร์บาร์เมทได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมี ส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน อาทิ คลื่นใส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ และเมื่อได้สัมผัสหรือได้รับสารพิษนานๆก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและเกิดโรคมะเร็ง อัมพฤกษ อัมพาต โรคผิวหนัง ฯลฯ จากการตรวจสารเคมีตกค้าง ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไปที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภค ในปี 2565 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร พบว่าผลตรวจสุขภาพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไปที่ซื้อผักผลไม้รับประทาน จำนวน 100 คน พบอัตราผู้มีสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต ในกลุ่มประชาชนที่มีผลเลือดปกติ ร้อยละ 54 ในกลุ่มปลอดภัย จำนวน ร้อยละ 42 ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน ร้อยละ 3 และกลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน ร้อยละ 1 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขาพตำบลเขาไพร โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพ ดเสี่ยง ลดโรค ด้วยสมุนไพรไทย ปี 2566 เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองและให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา

 

2 เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.2 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความเสี่ยงทางจิต 2.2 เจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.3 จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด รักษาโดย ใช้ยาสมุนไพรและนัดติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
  3. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลโครงการ 3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองและให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา
  2. ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้เรื่องความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีและการบริโภคผัก ผลไม้ ปลอดสารเคมี
  3. ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยำด้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยรางจืด ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 10:42 น.