กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย
รหัสโครงการ 66-L8411-03-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 12,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาแอเสาะ สิยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร มีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีตามมาด้วย เด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อม ๆกัน การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเด็ก คือ อาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอเหมาะสมกับวัยทุกวัน โดยมีอาหารหลัก 5 หมู่ ที่หลากหลายและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ นม 2-3 แก้วต่อวัน หลักการเลือกรับประทานอาหารสำหรับลูกน้อยควรจัดอาหารให้เด็กบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญให้ครบถ้วนได้สัดส่วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายให้บริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมจุกจิก ผู้ปกครองควรให้ความสนใจกับสภาพจิตใจของเด็กเพราะมีผลกระทบถึงการกินอาหารและภาวะโภชนาการของเด็ก จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต และนิสัยในการบริโภคจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของและสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน เพราะเด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบอาหารหรือผู้ที่สัมผัสอาหาร ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร  ไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณค่า คุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร ของผู้ประกอบอาหารหรือผู้สัมผัสอาหาร จากความสำคัญของอาหาร และพฤติกรรมการกินอาหารของเด็ก ส่งผลต่อภาวะโชนาการของเด็กนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน ได้เล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการในเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเนาะปูเต๊ะใน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและให้บริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัยของเด็กตามวัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น

 

2 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

3 เพื่อให้ ครูและผู้ปกครอง ร่วมฝึกทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 92 12,970.00 2 12,970.00
13 ก.ค. 66 อบรมและให้ความรู้เรื่อง โภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 46 11,170.00 11,170.00
13 ก.ค. 66 กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 46 1,800.00 1,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1.ครู และผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กมากขึ้น 9.2.ครูและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ 9.3.ครูและผู้ปกครอง สามารถทำอาหารเมนู อาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 11:54 น.