กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5ปี
รหัสโครงการ 66-L8305-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรามัน
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอานีซะ แยกาจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2 ถึง 5 ปี เป็นวัยที่ถือว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ” ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยทารก ก้าวสู่ความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ สังคมที่กว้างออกไปจากครอบครัว เราจึงควรเข้าใจในพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกวิธี มีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน อันจะช่วยให้เด็ก เกิดการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตที่สมองมีการเจริญเติบโตมากกว่าทุกๆ ช่วงอายุ
จากผลการดำเนินงานการดูแลเด็กอายุ 0 - 5 ปีในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ในปี 2565 มีเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 418 คน มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 7.17 ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังพบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าค่อนข้างมาก เด็กในวัยนี้ควรได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้คุณครูและผู้ปกครอง มีความรู้และสามารถตรวจสุขภาพช่องปาก ป้องกันได้ 2) เพื่อให้เด็กนักเรียนตาดีกาได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปาก 3) เพื่อให้เด็กนักเรียนตาดีกามีความรู้ในการดูแลสุขภาพฟันในช่องปากได้อย่างถูกต้อง 4) เพื่อให้เด็กนักเรียนตาดีกาแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 70
  2. เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80 3.พบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 20
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ ประชุมผู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
    1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ       3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ         3.1 จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าที่สาธารณสุขและอสม.ผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน   3.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยการดึงข้อมูลจาHDC และกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองพัฒนาการในแต่ละเดือน         3.3 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการดูแลส่งเสริม ฟื้นฟูและกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0-5ปี จำนวน 100 รายโดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลรามันสถานที่ ห้องประชุมเทศบาลเมืองรามันห์ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566         3.4 ฝึกทักษะการกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยการสาธิตย้อนกลับ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566             3.5 อบรมให้ความรู้แก่แม่อาสา เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริม เฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการ ในวันที่ 16 มิถุนายน 2566             3.6 ฝึกทักษะการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ในวันที่ 16 มิถุนายน             3.7 ติดตามเยี่ยมเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแม่อาสา
    2. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
    3. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ
  2. แม่อาสา มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริม เฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 70
  3. เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 15:48 น.