กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคลูกน้อยด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0-5ปี
รหัสโครงการ 66-L8305-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะ
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 23,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย เปาะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       จากผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลกายูบอเกาะ ในปี 2563 - 2565 อัตราความครอบคุลมของการ ได้รับวัคซีน ร้อยละ 93.34 ,91.83 , 75.85 ตามลำดับ มีแนวโน้มที่สูงขึ้นแต่ยังมีเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในพื้นที่ จากการวิเคราะห์ สภาพปัญหาร่วมกับ จนท.สาธารณสุขโรงพยาบาลรามัน พบว่า จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปีมีจำนวน 374 คน ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ จำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.39 และเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์บ่ายเบี่ยง มีจำนวน จำนวน 96 ราย คิดเป็น ร้อยละ 23 และกลุ่มปฏิเสธ จำนวน 11ราย คิดเป็น ร้อยละ 2.94 ราย จากปัญหาพบว่า ไม่มีการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มาตามนัด อย่างต่อเนื่อง และ มีกลุ่มผู้ปกครองบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ ลังเล และ ปฏิเสธการรับวัคซีน เนื่องจาก อาการข้างเคียง ของวัคซีนบางชนิดทำให้เด็ก มีไข้ ทำให้มี มีทัศนคติที่ไม่ดี ต่อวัคซีน ไม่นำบุตรหลานมารับวัคซีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน ยังคงเกิดกระแสต่อต้านวัคซีน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่งผลให้มีการระบาดของโรคติดต่อของโรคหัด ในเด็กอายุ 0-5 ปี ในช่วง เดือน กันยายน-ธันวาคม2561 และปี 2562 เกิดโรค คอตีบ เสียชีวิต ในเขตตำบลใกล้เคียง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุก ส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้   โรงพยาบาลรามัน เห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับวัคซีนมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น จึงจัดทำโครงการป้องกันโรคด้วยวัคซีน ในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบล ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครบชุดตามเกณฑ์อายุ.. ข้อที่ 2เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อร้ายแรงที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.อัตราเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 95 2.ไม่พบอุบัติการณ์ โรคติดต่อร้ายแรง ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน       1 ประชุมชี้แจงโครงการและการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง       2 ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่       3 ดำเนินงานตามโครงการ         .3.1 สำรวจ เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน
        3.2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน จำนวน 100 ราย วันที่...................... .เวลา  9.00-16.00 น.         3.3 ออกติดตามวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่โดย อสม. ร่วมกับ ผู้นำชุมชนใน พร้อมกับ จนท. โรงพยาบาลรามัน บริการวัคซีนในพื้นที่
        3.4 จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และร่วมกันกำหนด มาตรการชุมชน ด้านวัคซีน     4 รวบรวมข้อมูล     5 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองมีความรู้ และให้ความสำคัญของการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ เด็กมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 16:17 น.