กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การดูแลใส่ใจ สตรียุคใหม่ ปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ปี2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลป่ายาง
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรวัฒน์ ทองสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกถือว่าเป็นโรคที่คุกคามสุขภาพของสตรีที่พบมาก เป็นอันดับต้น ๆ ของโรคมะเร็ง ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน และอาจถึงแก่ความตายได้ในที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข จากรายงานที่ผ่านมา พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับตามลำดับ จากปีที่ผ่านมาพบว่าสตรีไทยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 18.5 ต่อแสนประชากรต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงมาก       เนื่องจากอัตราการรอดจากการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนหนึ่งอยู่ในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่แพร่กระจาย  ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตภายหลัง ร้อยละ 95  ส่วนระยะที่ 3 และ 4 ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีไทยส่วนใหญ่มีความเขินอายไม่กล้าไปรับการตรวจด้วยลักษณะทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมของคนไทย       การตรวจมะเร็งปากมดลูกช่วยให้พบสิ่งผิดปกติในระยะแรก และสามารถรักษาให้หายได้ เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก และยังทำให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ตลอดจนรู้จักแนวทางการป้องกันต่อการเกิดโรค ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายางได้มองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ การดูแลใส่ใจ สตรียุคใหม่ ปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ปี2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจถึงโรคมะเร็งปากมดลูก และรู้จักแนวทางการป้องกันต่อการเกิดโรคได้

กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปมีผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจถึงโรคมะเร็งปากมดลูก และรู้จักแนวทางการป้องกันต่อการเกิดโรคหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเสี่ยงในระยะแรกได้ทันท่วงที ลดอัตราป่วย และไม่พบอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเสี่ยงลดลง และไม่พบอัตราตายในพื้นที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งทางทะเบียนราษฎร์และจากการสำรวจโดย อสม.ที่รับผิดชอบแต่ละหลังคาเรือนในหมู่บ้าน 2. ประชุมชี้แจง วางแผน ในหน่วยงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.เพื่อค้นหา กลุ่มเป้าหมายและเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ วัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงานของโครงการ 3. จัดเตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ โดยการประสานงานกับ รพ.สต.ต่างๆ ภายในตำบล เพื่อขอความร่วมมือทั้งอุปกรณ์และบุคลากรในการร่วมดำเนินการ
ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งในสถานบริการ และในหมู่บ้าน โดยการนัดแนะเป็นรายหมู่บ้านรวมทั้งเปิดให้บริการในคลินิก ณ สถานบริการทุกวันพุธ (เวลา 08.30-12.00 น.) 2. ผู้เข้าร่วมคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกทุกคน ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 3. แจ้งผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ทราบ 4. ติดตามกลุ่มผู้ที่พบเซลล์ผิดปกติเพื่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและติดตามเข้ารับการรักษา รวมทั้งจัดทำทะเบียนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกไว้ในสถานบริการ ขั้นประเมินผล 1. สรุป รวบรวม วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ โดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มที่พบเซลล์ผิดปกติ และกลุ่มผู้ป่วย เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปมีผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจถึงโรคมะเร็งปากมดลูก และรู้จักแนวทางการป้องกันต่อการเกิดโรคหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม ร้อยละ 80
  2. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเสี่ยงลดลง และไม่พบอัตราตายในพื้นที่ ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 11:06 น.