กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1520-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขาดการรักษาการกินยาต่อเนื่อง จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล ในการเฝ้าดูแลและเพิ่มการเดินทางในการไปโรงพยาบาลมากขึ้น ต้องพบแพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์ ทำให้เพิ่มภาระในส่วนของการเดินทางไปกลับและต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการบ่อยขึ้น รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการ ซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจ ดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียด การงด เหล้า งดบุหรี่ และ การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การรักษาต่อเนื่อง ไม่ขาดยา มีความรู้ความตระหนักในการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเรื้อรังก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมสำนักโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ 2560 พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 266,903 คน และโรคเบาหวานจำนวน 220,413 คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง ปี 2562 -2565 พบว่าประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ 5 หมู่ 3,7,8,10,14 มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 275 ,295,332,338 คน (ตามลำดับปี2562-2565) และโรคเบาหวานจำนวน 132,137,144,152 (ตามลำดับปี2562-2565) คน ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนย้อนหลัง๓ปีตั้งแต่ พ.ศ.
2563 – 2565 พบว่า ในเขตรับผิดชอบ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านหลอดเลือดสมองและหัวใจส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองได้น้อย พิการ คุณภาพชีวิตลดลง จำนวนผู้ป่วยที่พบภาวะแทรกซ้อนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจ 5 คน ได้รับการผ่าตัดทำบอลลูน 1 คน และ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหัวใจ 1 คน หลอดเลือดสมอง จำนวน 18 คน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้16คนและอีก 2 คนเป็นผู้ป่วยติดเตียงภาวะเบาหวานขึ้นตา 3 คน และมีแผลที่เท้า จำนวน 3 คน ภาวะไตวายเรื้อรังระดับ 4 ขึ้นไป 4 คน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการค้นหาภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์ และครอบคลุม

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการค้นหาภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์ และครอบคลุมร้อยละ 80

2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่พบภาวะแทรกซ้อนอย่างใดอย่างหนึ่งได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และส่งต่อทันท่วงที

ร้อยละ 100 ของ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเฉพาะทางได้รับการดูแลและส่งต่อ ตามมาตรฐาน

3 เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดสูงแบบมีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง และสถานบริการ

ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน มีค่าระดับความดันโลหิตลดลง/น้อยกว่า 140/90 mmHg
ร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เจาะระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน มีค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยลดลง/น้อยกว่า 7 ร้อยละ 60

4 เพื่อชะลอและลดอัตราการเกิดภาวะไตวาย การถูกตัดเท้า หรือตาบอดในผู้ป่วยที่พบเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าได้รับการประเมินโดยพยาบาล รพ.สต และส่งต่อคลินิกเท้า รพ.วังวิเศษและโรงพยาบาลตรัง

5 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพ (ด้าน 3 อ 2 ส และการรับประทานยา) ในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง และเหมาะสม ความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ป่วยมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,200.00 0 0.00
15 พ.ค. 66 เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 0 0.00 -
15 พ.ค. 66 วิเคราะห์ข้อมูล สรุปปัญหาแต่ละรายและประชุมชี้แจงแนวทางการดูแลผู้ป่วย 0 0.00 -
15 พ.ค. 66 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ควบคุมโรคไม่ได้และมีปัญหาซับซ้อนพบผู้จัดการรายกรณีตรวจค้นหา TOD ตามมาตรฐานเพื่อ ป้องกัน วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 0 0.00 -
15 พ.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 กิจกรรมชะลอไตเสื่อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ รพ.สต.และกิจกรรมStroke Alert โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 0 25,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ สมองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง ตระหนักในการดูแลตนเองและได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม และชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 15:24 น.