กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ ๓ บ้านโตนนอก ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L1521-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสาธารณสุขหมู่ที่ ๓ บ้านโตนนอก
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 7,156.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัฒนา พลหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 พ.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 7,156.00
รวมงบประมาณ 7,156.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 391 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ คุกคามชีวิตคนไทยที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุข ทุกระดับ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยโรคเหล่านี้ นับว่าเป็นภาระต่องบประมาณของประเทศในด้านการดูแลสุขภาพ เพราะต้องใช้ทั้งยาบุคลากร สถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการ ดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากการตรวจคัดกรองโรคในประชากรตำบลกะลาเสที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปใน ปี ๒๕๖๔ และปี ๒๕๖๕ สามารถ คัดกรองโรคเบาหวานครอบคลุมร้อยละ ๙๙.๘๔ และ ๙๒.๕๑ ของประชากรตามลำดับ และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ได้ครอบคลุมร้อยละ ๙๘.๙๒ ,๙๐.๒๕ ตามลำดับ ซึ่งพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
การค้นหากลุ่มโรคดังกล่าว ควรเริ่มจากการคัดกรองความเสี่ยงในประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ระดับความดันโลหิต ประเมินดัชนีมวลกาย วัดเส้นรอบเอวการตรวจสอบประวัติความเจ็บป่วยและความเจ็บป่วยของบิดา มารดา ญาติสายตรง
และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการเสริมความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องได้รับการวินิจฉัยยืนยัน และในกรณีที่ป่วยต้องได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๓ บ้านโตนนอกจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดัน โลหิตสูงปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคก็ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันและรับการรักษา

๑. ร้อยละ ๙๐ ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนที่มีผลการคัดกรองสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด (DTX ≥๑๐๐หรือ BP≥๑๔๐/๙๐) ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันและรักษา

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันและรับการรักษา

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

19 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ๑.สำรวจ จำนวนและรายชื่อประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๒. จัดทำแผนปฏิบัติงานการ ๓.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อป้ายไวนิล ๔. อสม.ซักประวัติเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมายประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๖. สรุปผลการดำเนินโครงการ 391.00 7,156.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ ๒. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค ๓. ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 10:50 น.