กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตกรรมและป้องกันโรคในช่องปาก
รหัสโครงการ 66-L4122-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซากีย๊ะ เจ๊ะอีแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,101.309place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 256 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ในทุกด้านของเด็ก หากเด็กไม่มีฟันที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีแล้วร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการด้านร่างกายก็จะไม่เป็นไปตามวัยและยังส่งผลทางด้านจิตใจได้อีกด้วย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากฟัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากส่งผลทางด้านการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เห็นได้ชัดแล้ว การเรียนรู้ก็จะลดลงเนื่องจากถูกรบกวนด้วยการเจ็บป่วยนี้และส่งผลต่อผู้ปกครองในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในการรักษาทางทันตกรรม และจากการสำรวจสภาวะช่องปาก ของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตามกรมอนามัยดำเนินการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศทุก 5 ปี ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2520 สำหรับการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ปี 2560 จากการสำรวจพบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ร้อยละ 58.7 เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากการสำรวจสภาวะโรคฟันผุในฟันถาวรพบว่า เด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 66.7 ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.4 ซี่/คน เป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 31.5 มีฟันอุดร้อยละ 31.1 และมีการสูญเสียฟันร้อยละ 3.0 โดยพบว่าความชุกของการเกิดโรคฟันผุสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 61.1 รองลงมาคือภาคเหนือร้อยละ 51.1 ภาคกลางร้อยละ 49.2 และภาคใต้ร้อยละ 44.0 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.6, 1.3, 1.3 และ 1.1 ซี่/คน ตามลำดับ จากการสำรวจสภาวะโรคฟันผุในฟันถาวรในระดับจังหวัดยะลาพบว่า เด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 76.54 ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.23 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.38 ซี่/คน และจากการสำรวจสภาวะโรคฟันผุในฟันถาวรในระดับอำเภอบันนังสตาพบว่า เด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 76.54 ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.24 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.55 ซี่/คน และจาการสำรวจในระดับตำบลเขื่อนบางลาง ปีงบประมาณ 2565 พบว่า เด็กนักเรียนมีสภาวะฟันแท้ผุ ร้อยละ 79.61 ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นปัญหา และไม่ผ่านเกณฑ์มาตราฐานกระทรวจกำหนดไว้ว่าร้อยละของเด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันผุ (Cavity free) ไม่เกินร้อยละ 72
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1 ได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมทันตกรรมและป้องกันโรคในช่องปาก เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมป้องกันและรักษาทางทันตกรรมได้ทั่วถึง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตกรรมและป้องกันโรคในช่องปาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดฟันแท้ผุในเด็กประถมศึกษา โดยเน้นฟันกรามแท้ซี่ที่ 1

 

2 เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากในเด็กประถมศึกษา

 

3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กประถมศึกษา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม เพื่อติดตามและปรับแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่
    1. จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการ
    2. เตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์
    3. จัดบอร์ดเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพ
    4. จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ  ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
    • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา (ตามแผนออกปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมทันตกรรมและป้องกันโรคในช่องปาก)

- กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและทดสอบการแปรงฟันโดยใช้เม็ดย้อมสีฟัน - สร้างแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ - กิจกรรมเล่นเกม/ตอบปัญหาด้านทันตสุขภาพ - สอนวิธีการตรวจฟันด้วยตนเอง 6. ติดตามและประเมินผลโครงการ 7. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 โรงเรียนประถมศึกษา มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจนเป็นรูปแบบและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
3 นักเรียนประถมศึกษาได้รับบริการทันตกรรมเพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคฟันผุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 12:44 น.