กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพภาวะโภชนาการสมส่วน พัฒนาการสมวัย ไม่มีภาวะโลหิตจางในเด็กแรกเกิด-5 ปี ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2500-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูร์อามีนา รีขะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 พ.ค. 2566 19 พ.ค. 2566 34,170.00
รวมงบประมาณ 34,170.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการของมนุษย์เป็นขบวนการที่เปลี่ยนแปลงพัฒนา เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบ เฉพาะ กล่าวคือพัฒนาการจะเริ่มจากส่วนศีรษะไปส่วนขา ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ซึ่งระยะแรกเกิด จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลภายนอก โดยเฉพาะพ่อแม่ ให้การช่วยเหลือด้าน
หลักการและเหตุผล     พัฒนาการของมนุษย์เป็นขบวนการที่เปลี่ยนแปลงพัฒนา เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบ เฉพาะ กล่าวคือพัฒนาการจะเริ่มจากส่วนศีรษะไปส่วนขา ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ซึ่งระยะแรกเกิด จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลภายนอก โดยเฉพาะพ่อแม่ ให้การช่วยเหลือด้าน อาหาร ให้ความรักความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่ให้ทารกมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกด้านต่างๆ ซึ่งพัฒนาการแบ่งตามช่วงอายุ 5 ด้าน ดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและ สติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านช่วยเหลือตัวเองและสังคม และยังพบปัจจัยว่า สภาพครอบครัว สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นบุคคลและสิ่งของ ฯลฯ มีส่วนช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการให้แก่เด็กได้ นำประสบการณ์มาแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตหรือเชาว์ปัญญาได้ และนอกจากนี้ ภาวะโภชนาการของเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับพัฒนาการเด็ก การมีภาวะ โภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ การวางแผน พื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีกีดขวางการเจริญเติบโตของ เด็ก ส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าตามมา
ดังนั้น การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรก จึงมีความสำคัญและ จำเป็นมากที่ผู้ใหญ่จะให้แก่เด็ก แต่ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาก สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จากเดิมผู้เลี้ยงเป็น พ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ยาย ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับเด็ก เลี้ยงเด็กด้วยความรักและผูกพันอยู่กับบ้าน กลายเป็นการนำเด็กไปฝากเลี้ยง ตามสถานเลี้ยงเด็กต่าง ๆ ใน ตอนเช้าและรับกลับตอนเย็น หากเป็นเช่นนี้ระยะที่พ่อ แม่ลูก ได้พบกันเป็นช่วงเวลาที่ต่างคนต่างเหน็ด เหนื่อย จึงทำให้พ่อ แม่ ขาดโอกาสในการกระตุ้นพัฒนาการลูกรัก โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่เห็นความสำคัญด้านนี้ อนึ่งกาลเวลาอายุของเด็ก ไม่สามารถจะหวนกลับมาอีกได้ โดยเฉพาะระยะเวลาแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทองของพัฒนาการเด็ก และจำเป็นต้องส่งเสริมเด็กให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการ สมวัย
จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ จึงได้จัดทำโครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ปีงบประมาณ 2564 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน เฝ้าระวังและตรวจประเมิน ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี ในพื้นที่ ติดตาม กระตุ้น และประเมินภาวะโภชนาการและ พัฒนาการซ้ำทุก 1 เดือน ในเด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติให้มีภาวะโภชนาการปกติและเด็กที่มีพัฒนาการ ช้าให้มีพัฒนาการสมวัย รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็ก อสม. ประชาชน มีความรู้ในการ ส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย รวมถึงการมีสุขภาพดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-5 ปี มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับโภชนาการตามวัย (2. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด-5 ปี (3.เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาด้านทุพโภชนาการ (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์)ได้รับการเฝ้าระวังโภชนาการอย่างต่อเนื่อง (4.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-5ปี ตระหนักในเรื่องของการนำพาบุตรหลานมาตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุ (5.เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปีที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการสมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องโภชนาการมากขึ้นร้อยละ 50 เด็กแรกเกิด-5 ปีได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90 เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ100 เด็กแรกเกิด-5ปี ได้รับการตรวจพัฒนาเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด-5 ปีที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้น ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ       1.ประชุมอสม. ชี้แจงโครงการรูปแบบการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการ       2. ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
      3. จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย       4.ประสานชี้แจงผู้ปกครองและอสม.ในเขตรับผิดชอบตามกลุ่มเป้าหมายเด็ก0-5ปี
ขั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก - ลงทะเบียนเด็ก 0-5 ปี - จัดอบรมให้ความรู้เพื่อผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและ พัฒนาการให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและพัฒนาการสมวัย ตามเกณฑ์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการ เคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และ ด้านช่วยเหลือตัวเองและสังคม ให้มีพัฒนาการสมวัย       2. ติดตาม - ติดตามเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุกคนดื่มนมวันละ 1 กล่อง ติดต่อกัน90 วัน         - ติดตามเยี่ยมเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0-5 ปีได้รับการส่งเสริมให้ภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน
    1. เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการ
    2. เด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติและเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้รับการติดตาม กระตุ้น และประเมิน ภาวะโภชนาการและตรวจพัฒนาการซ้ำ ให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย
    3. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
    4. ผู้ปกครอง อสม. ประชาชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 14:57 น.