กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนเกะรอปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 66-L4156-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยามัน มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 พ.ค. 2566 24 พ.ค. 2566 26,650.00
รวมงบประมาณ 26,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาคุณภาพชีวิตและปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบ หรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสุบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อิ่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติ ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี "วันงดสูบบุหรี่โลก" (World No Tobacco Day ) ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ให้ คำขวัญว่า "Tobacco-a threat to development " (บุหรี่ ภัยคุกคามต่อการพัฒนา) โดยมุ้งเน้นให้เห็นถึง โทษ พิษ ภัย ของบุหรี่ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ผู้สูบหรือครอบครัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลถึงระบบเศษฐกิจ และสังคมในระบบที่กว้างขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งสิ้น
    จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภา่พทั้งต่อผู้สืบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กอย่างมีภูมิต้านทาง โรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถ ป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่าในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งเเต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่อง ไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี     และจากข้อมูล Health Data กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชาชนตำบลเกะรอ มีความชุกของการสูบบุหรี่สูงถึง ร้อยละ 19.73 ซึ่งเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดในระดับประเทศ ดังนั้น ทางชมรม อสม.ตำบลเกะรอ จึงมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ โดยจัดโครงการชุชนเกะรอปลดบุหรี่ เพื่อให้ทุภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและจริงจังในการต่อต้านและร่วมกันรณรงค์การลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ให้มีประสิทธืภาพ อย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิผลและนำไปสู้เป้าหมาย "ชุมชนเกะรอปลอด เลิกบุหรี่" ได้ในมี่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่

ร้อยละ 90 ของบุคคลที่สูบบุหรี่และเข้าอบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่

2 เพื่อให้พื้นที่ในชุมชนมีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกเครือข่ายบุหรี่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 90 ของประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกบหรี่เพิ่มขึ้น 2.สถานที่ราชการและมัสยิดในตำบลทุกแห่งปลอดบุหรี่ 100 % 3. ลดนักสูบหน้าใหม่ร้อยละ 50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 10:31 น.