กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
รหัสโครงการ 66-L4156-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวยูนุ๊ หะรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 พ.ค. 2566 24 พ.ค. 2566 24,550.00
รวมงบประมาณ 24,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ภัยพิบัติและโรคระบาดในปัจจุบัน ทั้งจากภัยธรรมชาติ และภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ มนุษย์ที่เกิดขึ้นบ่อย และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อความปลอดภัยใน การดำรงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรง ผลกระทบทางอ้อม คือสูญเสียเศรษฐกิจ โดยของประเทศ เนื่องจากต้องนำงบประมาณไปใช้ในการช่วยเหลือ/รักษาพยาบาลผู้ประสบภัย ฟื้นฟูบูรณะ ถนนหนทาง สิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภค
ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลเกะรอ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านหนึ่งในการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการภัยพิบัติเพื่อลดความสูญเสียที่จะ เกิดขึ้น และได้เร่งรัดดำเนินการในการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน โดยมุ่งเน้นให้คนในชุมชน เข้ามามีส่วน ร่วมในการระดมพลังแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน/หมู่บ้านที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และ พัฒนาผู้นำให้มีความรู้ความสามารถในการเตรียมพร้อมป้องกันภัย สามารถช่วยเหลือตนเองและคนในชุมชน/ หมู่บ้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ และให้ ความรู้เกี่ยวกับภัยต่าง การป้องกันภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอัคคีภัย ซึ่งในปี พ.ศ.2557 เป็นปีแห่งการ รณรงค์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอัคคีภัยของคณะรัฐมนตรี ประกอบกับ พระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 66 (4) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (29)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ร้อยละ 90 สามารถแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนได้

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคระบาดที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ร้อยละ100 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมโรคระบาดที่ถูกวิธีและเหมาะสม

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคระบาด(22 ม.ค. 2567-22 ม.ค. 2567) 24,550.00                        
รวม 24,550.00
1 อบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคระบาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 24,550.00 3 24,550.00
16 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคระบาด 36 8,100.00 8,100.00
19 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคระบาด 37 8,225.00 8,225.00
20 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคระบาด 37 8,225.00 8,225.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนได้
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมโรคระบาดที่ถูกวิธีและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 10:31 น.