กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี
รหัสโครงการ 66-L4139-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,945.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมุฮัมหมัดซัลมาน อาจอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2560) พบว่า เด็กอายุ ๓ ปี และ 5 ปี โดยพบผู้ปราศจากโรคฟันผุรู้อยละ 47.1 และร้อยละ 24.4 ตามลำดับ เห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุค่อนข้างสูง ปัญหาที่ตามมาคือการรักษาที่มักจะมีความยุ่งยาก และความร่วมมือในการรักษาที่ต่ำ นำมาซึ่งการสูญเสียฟัน น้ำนมก่อนเวลาที่เหมาะสม ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาจึงควรดำเนินการ ควบคุมป้องกันโรคฟันผุตั้งแตในระยะเริ่มแรก ลดการสูญเสียฟันน้ำนมของเด็กเล็ก ซึ่งเด็กยังไม่สามารถดูแล สุขภาพช่องปากของตนเองได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และครู โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ยะลา ได้เล็งเห็นว่า ผู้ปกครอง และครูมีความจำเป็นต้องได้รับการ พัฒนาศักยภาพและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความรู้ มีความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่อง ปากของเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำ "โครงการหนูน้อยฟันดี" ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูได้มีความรู้ และ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเต็กเล็กอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งยังส่งเสริมให้เต็กได้แปรง ฟันหลังจากการรับประทานอาหารเที่ยงอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครู เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-ประถมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ และตระหนักถึง ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

 

2 2.เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้รับการแปรงที่โรงเรียนวันละ 1 ครั้ง และมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงวัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการ ดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ . จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลยุโป 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งแผนการออกดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน 4. ดำเนินการตามแผนงาน ดังนี้ - กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันของผู้ปกครองนักเรียน - กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตามช่วงวัย - กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนทุกๆ 3 เดือน 5. ประเมินผลการดำเนินงาน 6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลยุโป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1-ผู้ปกครองและครูเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-ประถมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
2-นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้รับการแปรงที่โรงเรียนวันละ 1 ครั้ง และมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงวัย 3-อัตราของโรคฟันฝุในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายลดลงในปีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 10:51 น.