กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis) รพ.สต.เขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1516-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 27 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 7,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุ่งดาว อุดมพฤกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่อำเภอวังวิเศษเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย ประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งในปี 2565 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จังหวัดตรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรคLeptospirosisจำนวนทั้งสิ้น 216 รายคิดเป็นอัตราป่วย 33.82 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.63 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ2.90 อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอนาโยง พบผู้ป่วยจำนวน 47 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 106.05 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอำเภอย่านตาขาวพบผู้ป่วยจำนวน 34 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 53.02 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอวังวิเศษพบผู้ป่วยจำนวน 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 46.19 ต่อประชากรแสนคน เมื่อแยกรายตำบลพบว่าตำบลวังมะปรางเหนือพบผู้ป่วยสูงที่สุดถึง 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.92 ต่อแสนประชากรรองลงมา คือตำบลเขาวิเศษ จำนวน 6 ราย อัตราป่วย 48.03 ต่อแสนประชากรตำบลอ่าวตง 4 ราย อัตราป่วย 37.28 ต่อแสนประชากร ตำบลท่าสะบ้า 2 ราย อัตราป่วย 36.85 ต่อแสนประชากรและตำบลวังมะปราง 1 ราย อัตราป่วย 17.64 ต่อแสนประชากร
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิสลดลงน้องกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2560 – 2565 )

อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิสลดลงน้องกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2560 – 2565)

2 เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู

ร้อยละ 80 แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู

3 เพื่อให้ อสม./อบต./กรรมการ/ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ร้อยละ 95 ของครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขามีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (1,3,4,8,10,11,14,16,19,20)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. กำหนดแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. สร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ๓. เขียนโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๔. จัดซื้อเวชภัณฑ์/วัสดุเคมีภัณฑ์เพื่อป้องกันและควบคุมโรค ๕. สนับสนุนกิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคในหมู่บ้าน
6. กรณีมีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชนภายใน ๒๔ ชั่วโมง และดำเนินการแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนรับทราบ 7. สรุปผลการดำเนินงานเพื่อนำไปจัดทำแผนป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิสในปีต่อไป

กิจกรรมพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคให้มีฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังโรคให้สามารถตรวจจับการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดเพื่อเพิ่มมาตรการในการในการควบคุมโรคที่เข้มข้น
กิจกรรมพัฒนาระบบการป้องกันโรค โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรสิสแก่แกนนำ อสม.
- กิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน
- การควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส กรณีมีผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชนภายใน ๒๔ ชั่วโมง และแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อให้ประชาชนรับทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนูและกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง
2. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 16:40 น.