กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาล HbA1C เพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคแทรกซ้อนเบาหวาน
รหัสโครงการ 66-L1516-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 27 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 12,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุ่งดาว อุดมพฤกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของโลก โดยอัตราความชุกของโรคเบาหวานในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ สถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร และเป็นภาระโรคของคนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่าคนไทยเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากถึงประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การกินหวาน มัน เค็ม กินผักผลไม้น้อย การมีกิจกรรมทางกายน้อย ภาวะเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลและไขมันเพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงตามมา
การที่ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ ย่อมส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น จากข้อมูล HDC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2560 พบว่า อำเภอวังวิเศษมีผู้ป่วยเบาหวาน ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม คือ มีค่า HbA1C น้อยกว่า 7% เพียงร้อยละ 24.11, 33.51 และ 21.85 ตามลำดับ การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มการเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่กล่าวมามากขึ้น ซึ่งในปี 2560 จากข้อมูล HDC อำเภอวังวิเศษพบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ร้อยละ 14.7 และคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อ พบผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Nephropathy ร้อยละ 33.09 และเบาหวานที่เป็น Retinopathy ร้อยละ 2.76 ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C น้อยกว่า ๗% ร้อยละ 24.70 ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ผู้ป่วยจะมีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการรักษาที่ยุ่งยาก และซับช้อนมากขึ้น รวมถึงต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาที่สูงขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทางคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาล HbA1C เพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคแทรกซ้อนเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาการดูแลตนเอง และทางคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จะได้ติดตามดูแลเฉพาะรายกรณี ในรายที่มีปัญหาเฉพาะด้าน ตามปัญหาของแต่ละคน โดยทีมสหสาขาโดยการติดตามเยี่ยมบ้าน ติดตามการดูแลตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 50 คน ได้รับความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคและการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน 100%

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 50 คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 100%

3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน

ร้อยละของการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนเบาหวาน รายใหม่ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอสถานการณ์ข้อมูลผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยดูจากค่าน้ำตาลสะสม HbA1C มากกว่า 8% มาวางแผนแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยน และติดตามพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบมีส่วนร่วม ในทีมสหสาขา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
  2. เตรียมกลุ่มเป้าหมาย ที่มีระดับน้ำตาลสะสม HbA1C มากกว่า 8% เพื่อเข้าร่วมโครงการ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดกิจกรรมอบรม/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาล HbA1C เพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคแทรกซ้อนเบาหวาน
  5. ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย

  6. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานตามนัด และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง
  2. ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้
  3. สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 17:01 น.