กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคด้วยสมุนไพรไทย ประจำปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคด้วยสมุนไพรไทย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1516-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 27 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 19,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุ่งดาว อุดมพฤกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้อย่างมากมายซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งตัวเกษตรกรผู้ใช้ และยังตกค้างในผลิตผลการเกษตร เช่น พืชผัก หรือแม้แต่สัตว์น้ำจึงทำให้ประชาชนผู้บริโภคทุกคนมีโอกาสได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพที่อ่อนแอจนถึงเกิดโรคมากมายเช่น เหน็บชา โลหิตจาง แพ้พิษสารเคมี หรือมะเร็ง ปัจจุบันการตรวจคัดกรอง ค้นหาภาวะเสี่ยงเบื้องต้น มีเทคโนโลยีที่ง่ายและราคาถูก รวมถึงผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก็สามารถส่งเสริมสุขภาพได้ทั้งการให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้สมุนไพรไทยล้างพิษ อันจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเพื่อลดโรคร้ายแรงที่จะเกิดตามมา  เพื่อรองปัญหาสุภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ คือ กลุ่มวัยแรงงาน เนื่องจากกลุ่มนี้ คือ กำลังหลักของสังคมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสถาบันครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษเห็นว่าประชาชนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้

    ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ  ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารจำกัดศัตรูพืช วิธีป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อการพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษาเพื่อลดความเครียดการตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ที่จำหน่ายชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป มีความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ถูกต้อง

เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ  100

2 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

2.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ  90 3.เกษตรกรที่ผลการตรวจอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการติดตาม ร้อยละ 100

3 เพื่อศึกษาผลการตรวจระดับสารเคมีตกค้างในเลือดในกลุ่มประชาชนทั่วไป
  1. ประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ  90

  2. ประชาชนทั่วไป ที่ผลการตรวจอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการติดตาม ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดเตรียมข้อมูล
2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรและบุคลากร และงบประมาณเพื่อ
- ประชุมชี้แจงโครงการ
- จัดหาวัสดุชุดเจาะเลือดตรวจคัดกรองและแบบคัดกรอง
- จัดหาสมุนไพร รางจืด

ขั้นดำเนินการ
1.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และสื่อสารประชาชนสร้างการรับรู้ผ่านสื่อ
2.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรอง
- สัมภาษณ์คัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้น
- เจาะเลือดคัดกรองความเสี่ยง

3.จัดกิจกรรมให้ความรู้และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน
4.ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกรายด้วยสมุนไพรรางจืด
5.เจาะเลือดซ้ำ กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรรางจืดต่อเนื่อง

6.จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การใช้สมุนไพรรางจืดแก่กลุ่มเป้าหมาย

ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน
1.เจ้าหน้าที่ประชุมสรุปผลโครงการ
2.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมี ความรู้ ความเข้าใจและตระหนัก ในการสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกต้อง

2.เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

3.เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับ การตรวจหาสารเคมีตกค้าง ตรวจระดับสารเคมีตกค้างในเลือดในกลุ่มประชาชนทั่วไป

4.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืดมากขึ้น และสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 17:52 น.