กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L7257-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 506,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ ภ.ก.สมชาย ละอองพันธุ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (506,900.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เห็นชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18(9) และมาตรา 47 โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้ตอบรับนโยบายและดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ซึ่งการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ใช้แนวทางการดำเนินงานที่ต้องใช้ชุมชนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ และค้นหาปัญหาทางด้านสุขภาพ รวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพโดยชุมชน และเพื่อชุมชนเอง คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และอนุกรรมการกองทุนฯ บุคลากรทั้งทางภาครัฐ และภาคีเครือข่าย ทางด้านสุขภาพจะต่้องพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรต่างๆ อย่างน้อย 3 ประการ คือ บรรลุเป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคน และเป้าหมายของระบบพัฒนาองค์กร อดีตที่ผ่านมาการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพ องค์กรภาคประชาชน ชุมชนไม่ได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาน ซึ่งทำให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ มีการใช้จ่ายงบประมานของกองทุนหลักประกันสุขภาพไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ มีระบบการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีคุณภาพ และมีความยั่งยืน พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพทั้งในด้านการบริหารงานกองทุนฯ กฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำแผนสุขภาพ การพิจารณากลั่นกรอง และติดตามผลประเมินโครงการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาะเทศบาลเมืองคอหงส์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อพัฒนาศักยภาพกองทุนฯให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนฯตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

กองทุนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนฯตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ 100%

2 ๒.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯรวมทั้งเรื่องการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพในชุมชน แก่คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

 

3 ๓.เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนฯให้มีผลการประเมินกองทุนในระดับศักยภาพดี (ระดับ A)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนฯ
๒.คณะกรรมการกองทุนฯมีการบริหารงานกองทุนฯอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.กองทุนฯประเมินผ่านเกณฑ์คุณภาพในระดับดี (ระดับ A)
๔.กองทุนฯนำแผนสุขภาพชุมชนประจำปี ๒๕๖๐ มาดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพร้อยละ ๘๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2559 08:53 น.