กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจ ร่วมมือ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L5260-10(5)-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเปียน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายย๊ะยา เลาะดีเยาะ 2. นางสาวรอบีย๊ะ เง๊าะหมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุปราณี แก้อารมณ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.634,101.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ด้วยสถานการณ์โรคติดต่อด้วยแมลง ที่มาจากตัวยุง  ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายและยุงก้นปล้องเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ -๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
    ตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะ มาตรา ๑๖(๑๙) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕62 หมวด ๒
ส่วนที่ ๓ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๖๗(๓) ให้อำนาจหน้าที่ในการ ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ตำบลเปียนเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อด้วยแมลง เช่นโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย และโรคชิกุนกุนย่า รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ยุงก้นปล้อง รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อด้วยแมลงในครัวเรือน หมู่บ้าน มัสยิด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง อาสามาสมัครสาธารณสุขตำบลเปียน จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจ ร่วมมือ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเปียน(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00          
รวม 0.00
1 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเปียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อด้วยแมลง เช่นโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ของประชาชนและเด็กนักเรียนในเขตตำบลเปียน ๒. ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อด้วยแมลง ๓. ผู้นำชุมชน / ประชาชน/ มีความรู้ตลอดจนตระหนักถึงภัยของโรคติดต่อด้วยแมลง ๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2566 10:32 น.