กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3020-01-022
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินบำรุงจากการประกันสุขภาพ สอ.ต.ม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมรัฐ คงเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการเหตุผลภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย
จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 5 ปี ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในจังหวัดปัตตานี ร้อยละ 34.4% ระดับความรุนแรง >40% (อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอยะหริ่ง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน) ระดับปานกลาง >20-39.9% (อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอสานบุรี) ระดับน้อย >5-19% (อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอเมือง) อำเภอแม่ลานมีความชุกภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 51.64 ตำบลม่วงเตี้ย มีความชุกภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 61.82 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย มีความชุกภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 28.57 ซึ่งภาวะโลหิตจางจากในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1)การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2)สาเหตุจากการเสียเลือดอาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหารและการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธ์ุ เป้นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่อนธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป้นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสพสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้น การขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วยและพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิมธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6 - 12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางเมื่อเด็กอายุ 6 - 12 เดือน 3 - 6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิ์ประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์ ดังนั้นการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กทุกราย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี  ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กทุกราย

75.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 6 – 12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง

เด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 6 – 12 เดือน  ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 208 15,090.00 2 15,090.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้และจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก 98 3,450.00 3,450.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 คัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย 0-5 ปี 110 11,640.00 11,640.00

1.ชี้แจงให้ผู้บริหารท้องถิ่นตกลงเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายบริการยาเสริมธาตุเหล็กและการตรวจคัดกรอง และรักษาภาวะการขาดธาตุเหล็กของเด็ก กับหน่วยบริการและเครือข่ายของหน่วยงานบริการนั้น
2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและเชิญชวน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน - 6 ปี เข้าร่วมโครงการและลงทะเบียน
3.จัดทำทะเบียนบริการแจกแจงรายชื่อเด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน - 5 ปี ตามที่อยู่ศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนอนุบาล เพื่อสะดวกต่อการบริการ (กรณีเด็กยังอยู่ที่บ้าน ให้ จนท. ไปให้บริการที่บ้าน กรณีอยู่ศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลในเขตพื้นที่ จนท. ให้บริการ ณ สถานที่ดังกล่าว) ทั้งนี้ประสานความร่วมมือกับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลให้เข้าร่วมโครงการ
4.จนท.สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเครือข่่ายออกชุมชน เพื่อให้ยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กเป็นรายคนทุกสัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 52 ครั้งต่อปี และหรือตรวจคัดกรองโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน
5.พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กหรือครูพี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล ลงชื่อในทะเบียนบริการเมื่อเด็กได้รับบริการยาเสริมธาตุเหล็กเป็นรายคนทุกสัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 52 ครั้งต่อปี และหรือตรวจคัดกรองโลหิตจาง
6.กรณีตรวจคัดกรอง หากพบว่าเด็กมีภาวะโลหิตจาง จนท.สาธารณสุขจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้การรักษาอย่างน้อย 3 เดือน หรือแล้วแต่กรณี และบันทึกในทะเบียนบริการพร้อมให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองลงชื่อ
7.สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2566

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กปฐมวัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ช่วงอายุ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางทุกราย และเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2566 14:06 น.