กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมารดาทารกปลอดภัย จัดการได้เมื่อเจอภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 013/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ โรคหอบหืดและ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งในการแก้ปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก จำเป็นต้องดำเนินการหลายด้านไปพร้อมๆกันด้านมาตรฐานในการดำเนินงาน ระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อการบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานกระบวนการคุณภาพตั้งแต่ก่อน ระยะตั้งครรภ์ คลอดหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตรอายุ๐-๕ปีโดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบริการสุขภาพบริการ ซึ่งมุ่งหวังให้แม่ลูกปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์และคลอด ส่งเสริมในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บุตรได้รับการเลี้ยงดูให้มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

80.00 75.00
2 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ

80.00 75.00
3 หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงต้องได้รับการติดตามเยี่ยมทุกเดือนร้อยละ 100

หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงทุกเคสได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ  แกนนำสตรี

90.00 80.00
4 แกนนำสตรีได้รับการอบรมพัฒนาความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และสามารถ คัดกรองส่งต่อได้ทันท่วงที ร้อยละ 100

แกนนำสตรีมีความรู้ในเรื่องภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถดูแล ถ่ายทอดความรู้ส่งต่อเคสได้ถูกต้อง ทันท่วงที

90.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,900.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การดูแล/ประเมินภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ การส่งต่อเคส แก่แกนนำสตรี ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 24 คน 0 8,400.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำลองสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงแก่หญิงตั้งครรภ์ สามี/ผู้ดูแล หญิงหลังคลอด/หญิงวัยเจริญพันธุ์ สามีผู้ดูแล ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง จำนวน 80 คน 0 9,500.00 -
1 ม.ค. 66 - 31 ต.ค. 66 ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยม ดูแล ประเมินภาวะเสี่ยง แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ที่มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ โดยแกนนำสตรี 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 2หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ
3หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงทุกเคสได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ แกนนำสตรี
4แกนนำสตรีมีความรู้ในเรื่องภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถดูแล ถ่ายทอดความรู้ส่งต่อเคสได้ถูกต้อง ทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 00:00 น.