กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66 – L5293 -01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 9,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิกุล ตันพานิช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 9,650.00
รวมงบประมาณ 9,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
      ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง  ในที่สุด
มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข  มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข
    จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคีรีวง พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง 2 ราย ร้อยละ28.57 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม 2 รายร้อยละ 11.76 ในเด็ก 0- 5 ปี ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2565 ผลเด็กเตี้ย 10 คนร้อยละ 5.8 ค่อนข้างผอม 1 คนร้อยละ 0.58 และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน 24 คนร้อยละ 14.62 มีพัฒนาการสมวัย ปี 2565 146 คน ร้อยละ 97.33 ข้อมูลจาก HDC ปี2565     ตำบลมีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทย เติบโต เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการตั้งครรภ์

-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตาม    เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 -หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 -ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม  ไม่เกินร้อยละ 7

2 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด  ตามเกณฑ์  ร้อยละ 90

3 เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย -เด็กสูงดีสมส่วน ตามวัย

เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85     -เด็กสูงดีสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 66

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรม(19 มิ.ย. 2566-19 มิ.ย. 2566) 9,650.00        
รวม 9,650.00
1 อบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,650.00 0 0.00
19 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรมหญิงตั้งครรภ์ และผู้ดูแลเด็ก มารดาหลังคลอด 50 9,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์     2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด     3. เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 โภชนาการสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 64     4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
        5.เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2566 16:18 น.