กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่
รหัสโครงการ 66-L7252-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมชาย ชูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันเหล้าและบุหรี่เป็นปัญหาที่สำคัญในวงกว้างในสังคมไทย การบริโภคเหล้าและบุหรี่ในวัยรุ่นมีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพและการเติบโตของเยาวชน ภาพลักษณ์วัยรุ่นที่บริโภคเหล้าและบุหรี่กำลังเพิ่มขึ้นทำให้เป็นปัญหาที่เร่งด่วนต้องแก้ไขให้เยาวชนไทยห่างไกลจากการใช้สารเสพติดเหล่านี้ การบริโภคเหล้าและบุหรี่มีผลกระทบอันร้ายแรงต่อสุขภาพเยาวชนไทย อันเนื่องมาจากสารเคมีที่อยู่ในเหล้าและบุหรี่ เช่น แอลกอฮอล์ในเหล้าที่ส่งผลทำให้เกิดการทำลายต่อระบบประสาทและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ส่งผลให้เกิดโรคตับเรื้อรัง และการบริโภคบุหรี่ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคเรื้อรังอื่น ๆ การบริโภคเหล้าและบุหรี่ในวัยรุ่นส่งผลให้เกิดการสลายความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาทางปัญญา   พฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาของเด็กและเยาวชนนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยที่เด็กและเยาวชนยังอยู่ในวัยที่ขาดวุฒิภาวะ ขาดสติยั้งคิดและใช้ อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจ ยิ่งเมื่อเด็กและเยาวชนตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภัย โดยเฉพาะเมื่อได้เสพเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็จะขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ส่งผลให้เด็กและเยาวชนก่อความรุนแรงได้ง่าย สร้างความเดือนร้อนและภัยอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น และมีผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาทางกายภาพและจิตใจของเยาวชนได้อย่างรุนแรง เรื่องบุหรี่ หรือการสูบบุหรี่ เป็นการบริโภคสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในบุหรี่ ซึ่งเมื่อเยาวชนสูบบุหรี่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพได้รับความเสียหาย เช่น สุขภาพปอด ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา เช่น โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด และอีกมากมาย  ดังนั้นปัญหาการบริโภคเหล้าและบุหรี่จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552) มาตรา 50(6)(7) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 มาตรา 16(10)(19) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านกำลังคน และการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย
  กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองสะเดา จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เยาวชนตระหนักและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเหล้าและบุหรี่ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต และมีวิจารณญาณในการตัดสินใจและปฏิเสธการบริโภคเหล้าและบุหรี่ในวัยรุ่น สร้างพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้และรับรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และสร้างค่านิยมเรื่องการบริโภคเหล้าและบุหรี่ในเด็กและเยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเพิ่มความตระหนักและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเหล้าและบุหรี่ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย

 

2 2 เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้และรับรู้ถึงโทษของเหล้าโดยมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เน้นให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้โทษของเหล้าและบุหรี่

 

3 3 เพื่อส่งเสริมคุณค่าและวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่ดีให้กับเยาวชนไทยในเชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิเสธการบริโภคเหล้าและบุหรี่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อเพิ่มความตระหนักและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเหล้าและบุหรี่ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้และรับรู้ถึงโทษของเหล้าโดยมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เน้นให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้โทษของเหล้าและบุหรี่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3 เพื่อส่งเสริมคุณค่าและวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่ดีให้กับเยาวชนไทยในเชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิเสธการบริโภคเหล้าและบุหรี่

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

4.1 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงาน/เสนอโครงการ
4.2 ติดต่อประสานงานโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา และกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ 4.3 วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
4.4 กำหนดกิจกรรมป้องกันเหล้าและบุหรี่ในเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ - กิจกรรมประกวดคำขวัญเยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่ - กิจกรรมประกวดสื่ออินโฟกราฟิกเยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่ - กิจกรรมประกวดภาพวาดเยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่ - กิจกรรมประกวดการกล่าวสุนทรพจน์เยาวชนไทยห่างไกลจากเหล้าและบุหรี่ - กิจกรรมแสดงพลังต่อต้านไม่ยุ่งเกี่ยวกับเหล้าและบุหรี่ “เทเหล้า เผาบุหรี่” 4.5 ดำเนินงานตามปฏิทินกิจกรรม
4.6 รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.1 เด็กและเยาวชนตระหนักรู้ในเรื่องของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเหล้าและบุหรี่ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย 2.2 เด็กและเยาวชนมีพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้และรับรู้ถึงโทษของเหล้าโดยมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เน้นให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้โทษของเหล้าและบุหรี่ 2.3 ส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่ดีให้กับเยาวชนไทยในเชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิเสธการบริโภคเหล้าและบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 08:59 น.