กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการณรงค์ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งลาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L5169-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 26,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุธิศา ทองประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 26,590.00
รวมงบประมาณ 26,590.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย(ข้อมูลจาก งานโรคติดต่อนำโดยแมลง กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ)พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 3,855 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.51 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.03 (ที่มา : กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำหนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 9กุมภาพันธ์ 66) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 286 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 19.98 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต (ที่มา :กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำหนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา)จะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดทุกปีส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

60.00 30.00
2 2 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก  ร้อยละ 80

60.00 80.00
3 3 ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

อสม./ผู้นำชุมชน  และแกนนำสุขภาพครอบครัวเข้าร่วมการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
4 4 ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ค่า CI ร้อยละ 0 ในโรงเรียนและหมู่บ้าน
  • ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10 ในแต่ละหมู่บ้าน
10.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 258 26,590.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อจัดทำโครงการฯ 0 0.00 -
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 ประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นร่วมกันวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการ 0 0.00 -
10 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม. และผู้นำชุมชน 86 6,880.00 -
10 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมี (สเปรย์) ในครัวเรือน กำจัดยุงลายตัวแก่ในพื้นที่เสี่ยงที่เกิดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและในรัศมี 100 เมตร 86 15,210.00 -
10 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 86 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความตระหนักและร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 00:00 น.