กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านมดตะนอย
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.303,99.394place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ เพราะพบผู้ป่วยในทุกพื้นที่เป็นประจำทุกปี จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นโรคประจำท้องถิ่น ประกอบกับในปี ๒๕๖๐ สภาพภูมิอากาศในพื้นที่อำเภอกันตัง ปริมาณน้ำฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งปี ยิ่งสนับสนุนให้โอกาสการเกิดโรคที่นำโดยยุงเป็นพาหะนำโรคมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกปี ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคซิก้า ทั้ง ๓ โรคสามารถแพร่ระบาดได้โดยมียุงลายเป็นสัตว์นำโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของรพ.สต.บ้านมดตะนอย พบผู้ป่วยๆด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๒ ราย คิดเป็น ๑๐๙.๐๕ ต่อแสนประชากร จากสถานการณ์การเกิดโรคดังกล่าว จึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของแสดงให้เห็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมดตะนอยน่าจะปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดโรคไข้เลือดออก จากการประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีการรับรู้การเกิดโรคในพื้นที่ แต่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น รพ.สต.บ้านมดตะนอย จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อให้มีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการป้องกันภัยไข้เลือดออก โดยใช้กลวิธีพึ่งตนเองของชุมชนภายใต้หลักการทางศาสนา หลักเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกำหนดรูปแบบการป้องกันควบคุมโรค การเสริมแรงของคนในชุมชน ส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้นำชุมชนอสม. และประชาชน ซึ่งเป็นผู้นำในการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน และให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และร่วมกันดำเนินงานอย่างจริงและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

2 2. เพื่อให้ชุมชนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

3 3. เพื่อให้ชุมชนมีระบบการควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนเมื่อมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕.1 การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 1) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 3) ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ ส.อบต. ผู้นำชุมชน และอสม. 4) ประชาสัมพันธ์โครงการ ๕) ร่วมรับรู้สถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก สาเหตุการเกิดโรค พร้อมร่วมกันกำหนด
รูปแบบการป้องกันภัยไข้เลือดออก ๖) สนับสนุนให้มีการจัดแบ่งละแวกบ้าน เพื่อการเฝ้าระวังภัยของชุมชน ๗. ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ๕.2การดำเนินงานตามโครงการ กลวิธีทางกายภาพ กลวิธีทางชีวภาพ ๑.การจัดการขยะในครัวเรือน ๑.การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ ๒.การปรับแสงสว่างในห้องน้ำ ๒.ปลูกต้นไม้ไล่ยุง ๕.๒.๑ การป้องกันโรคไข้เลือดออกกลวิธี“ชุมชนร่วมควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย” กลวิธีทางกายภาพกลวิธีทางชีวภาพ ๑.การจัดการขยะในครัวเรือน๑.การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ ๒.การปรับแสงสว่างในห้องน้ำ๒.ปลูกต้นไม้ไล่ยุง ๕.๒.๒ การควบคุมโรค เมื่อพบผู้ป่วยในชุมชน โดยใช้กลวิธี“ รู้เร็ว ทาเร็ว กำจัดเร็ว” - รู้เร็ว: มีระบบการแจ้งเหตุที่เร็ว - ทาเร็ว :ทาโลชั่นป้องกันยุงกัดในผู้ป่วยที่มีไข้ เพื่อควบคุมปริมาณยุงลายที่มีเชื้อ - กำจัดยุงลายในบ้านทันที เพื่อลดโอกาสแพร่ระบาดของโรค กลวิธีทางเคมี การจัดการ สเปรย์กำจัดยุงตัวเต็มวัย การจัดการโลชั่นป้องกันยุงกัด กลวิธีทางเคมี การจัดการ สเปรย์กำจัดยุงตัวเต็มวัย การจัดการโลชั่นป้องกันยุงกัด ๕.๓ ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนเรียนรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งทางด้านปัจจัยการควบคุมโรคทางกายภาพ ชีวภาพ และการใช้สารเคมีควบคุมโรคอย่างเหมาะสม ส่งผลให้สามารถป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2559 10:43 น.