กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบลนาหว้า
รหัสโครงการ 66-L5182-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาหว้า
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 สิงหาคม 2566 - 12 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 5 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 49,415.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
8.60
2 จำนวนศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรกรปลอดสารเคมีหรืออินทรีย์ เกษตรต้นแบบ
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน
ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่างๆ แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลก็คือสารเคมีกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ สารพิษนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดไม่สามารถคาดคะเนด้วยสายตาได้ ซึ่งการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโทษและโรคร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรรู้จักวิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้ รวมถึงวิธีการล้างให้ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สาเหตุการเกิดสารพิษตกค้างในผัก เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบเลือกซื้อเฉพาะผักที่สดสวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของโรคและแมลง ผู้ปลูกผักบางรายมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของสารเคมีเป็นอย่างดีแต่ไม่นำหลักการใช้ที่ถูกต้องไปปฏิบัติหรือละเลยเสียโดยมุ่งหวังแต่ประโยชน์ผลกำไรและความสะดวกเป็นหลักโดยขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ผู้ปลูกผักบางรายขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้องเมื่อประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลง ทางเลือกแรกที่นำมาใช้คือ การฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีการอื่นเลย เนื่องจากสารเคมีมีประสิทธิภาพสูงให้ผลเร็วสะดวกในการใช้และหาซื้อได้ง่ายดังนั้นเมื่อชาวสวนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายปัญหาที่ตามมาก็คือเกิดสารพิษตกค้างในผักที่เกินค่าความปลอดภัยซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ประชาชนโดยทั่วไปยังมีมาตรฐานในการครองชีพที่ไม่สูงนักมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและการบริโภคที่ง่าย ๆ โดยไม่ค่อยคำนึงถึงความปลอดภัยในการบริโภคเท่าที่ควรผักปลอดภัยจากสารพิษจึงมีได้รับความนิยมมากนัก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

8.60 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,415.00 0 0.00
2 ส.ค. 66 ประชุมวางแผนชี้แจงโครงการและการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 0 435.00 -
4 ส.ค. 66 การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 17,955.00 -
11 ส.ค. 66 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 และอบรมเชิงปฏิบัติผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีในผักผลไม้ 0 24,600.00 -
16 ส.ค. 66 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2 0 3,300.00 -
12 ก.ย. 66 ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 0 3,125.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความปลอดภัยจากสารเคมีในการบริโภคผักผลไม้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 00:00 น.