กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอนามัยปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8018-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนอนามัย
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 13,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารุณี ผดุงกาล/นางยุพดี นนทิพิเชฐ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 13,800.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 13,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 276 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตรับผิดชอบ เทศบาลตำบลทุ่งยาว เนื่องจากมีการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพบมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคที่สำคัญเกิดจากพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ครอบครัวและชุมชน ในการเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออกมาสู่คนหรือการทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำกินน้ำใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง การที่จะควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่จำเป็นต้องมีการควบคุมป้องกันทั้งระยะก่อนเกิดโรคและระยะเกิดโรคในทุกหมู่บ้านเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ    จากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนในการที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการช่วยกัน              ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายและมีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ดังนั้น อสม.ชุมชนอนามัย ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุม          โรคไข้เลือดออก” ขึ้น เพื่อย้ำเตือนให้ชุมชนอนามัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและช่วยกันรณรงค์ควบคุม            โรคไข้เลือดออกพร้อมกันทุกครัวเรือนและกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลทุ่งยาวปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและมีสุขภาพที่แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ ๑. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้รับความรู้และ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลายและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ประชาชนได้รับความรู้เรื่องไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน

2 ข้อ ๒. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อ

ค่า HI < 10 และ CI = 0 หมายเหตุ : ค่า HI คือ ร้อยละของบ้านที่สำรวจพบลุกน้ำยุงลาย/ ค่า CI คือ ร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย

3 ข้อ ๓. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบ

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 สอบสวนโรคและควบคุมการระบาด(1 ก.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 3,100.00      
2 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(1 ส.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 10,700.00      
รวม 13,800.00
1 สอบสวนโรคและควบคุมการระบาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 276 3,100.00 1 3,100.00
1 ก.ค. 66 - 10 ส.ค. 66 สำรวจลูกน้ำยุงลาย 276 3,100.00 3,100.00
2 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 276 10,700.00 1 10,700.00
3 ส.ค. 66 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 276 10,700.00 10,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ๒. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๓. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๔. ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อรายแรกภายใน ๒๘ วัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2566 10:24 น.