กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
รหัสโครงการ 62-L5282-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กันยายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

จากสถานการณ์อุทกภัยวันที่ 25 กันยายน 2560 ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน จำนวน 916 คน เป็นจำนวน 272 ครัวเรือน และได้อพยพหนีน้ำ จำนวน 150 คน

916.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

พื้นที่ตำบลอุใดเจริญ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ เป็นต้น ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุง ทำให้ช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นมามีรายงานการเกิดไข้เลือดออกในประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน 14 ราย แต่ไม่มีรายงานของผุู้เสียชีวิต แต่สำหรับปี พ.ศ. 2560 มีรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออก ประมาณ 40 ราย สาเหตุการเกิดโรคส่วนหนึ่งมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ส่วนหนึ่งมาจากการติดต่อจากพื้นที่อื่น

40.00
3 จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิกุนคุนยา)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ร่องความกดอากาศต่ำเคลื่อนที่ผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2550 -5 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นโดยเฉพาะ จังหวัดตรัง พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี สตูล ตลอดจนพื้นที่จังหวัดสงขลาบางส่วนนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบภัยสามารถเขียนโครงการด้านสุขภาพขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตลอดจนโครงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือ กองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ข้อ7(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ตามที่ร่องความกดอากาศต่ำเคลื่อนที่ผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2559 -5 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นโดยเฉพาะ จังหวัดตรัง พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี สตูล ตลอดจนพื้นที่จังหวัดสงขลาบางส่วนนั้น สำหรับในพื้นที่ อบต.อุใดเจริญ มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วมส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู หรือ โรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องดำเนินโครงการเผชิญและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ

สำหรับพื้นที่จังหวัดสตูล ในเขตพื้นที่ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง ที่ผ่านมาผู้ได้ผลกระทบจากน้ำท่วม เป็นจำนวน 272 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน 916 คน อพยพหนีจำนวน 150 คน ผลกระทบในครั้งนี้มีสัตว์ปีกได้รับความเสียหาย 10 ตัว/ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม

1.ประชาชนได้รับยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม จำนวน 400 ครัวเรือน 2.ประชาชนที่ถูกน้ำท่วมได้รับอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคฉี่หนูและยา จนไม่มีคนที่ป่วยด้วยโรคฉี่หนู

300.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 60 - 28 ก.ย. 61 การจัดซื้อชุดยาสามัญประจำบ้าน จำนวน..................ชุดๆ 0 20,000.00 -
1 พ.ย. 60 - 28 ก.ย. 61 การจัดซื้อรองเท้าบูทป้องกันโรคฉี่หนูแก่ชาวบ้านที่ประสบภาวะน้ำท่วม จำนวน.........คู่ 0 20,000.00 -
  1. คณะกรรมการกองทุนอนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ 5-10 % หรือมากกว่า เพื่อรับมือภัยพิบัติ2. หน่วยงานหรือองค์กรใดก็ได้เขียนโครงการขอสนับสนุน3. ดำเนินอนุม้ติโดยนายกฯให้ดำเนินโครงการ ตามกลวิธี 3.1 การมอบชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากนำ้ท่วม3.2 การมอบรองเท้าบูทเพื่อป้องกันโรคฉี่หนูเพื่อป้องกันการระบาดพร้อมให้ความรู้ 3.3 .การให้ยาdoxycycline 2 เม็ดครั้งเดียว เพื่อป้องกันโรคฉี่หนูระบาดโดยหน่วยแพทย์หรือทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 4.การลงเยี่ยวยาและแก้ปัญหาสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากน้ำท่วม

2.ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นโรคที่เกิดจากน้ำท่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2560 11:44 น.