กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 8
รหัสโครงการ 66-L1467-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ 8
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิลาวรรณ จอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีรายงานพบผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบัน  ยังพบการระบาดของโรคในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพบผู้ป่วยต่อเนื่องทุกปี ทำให้คาดการณ์ว่าอาจมีแนวโน้มการระบาดรุนแรงขึ้น โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายทั้งในครัวเรือน บริเวณที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน วัด โรงเรียน ประกอบกับยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปีถ้าไม่ดำเนินการการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพก็อาจเกิดการระบาดของโรคได้ตลอดเวลา

      ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบ่อน้ำร้อน จึงได้จัดโครงการรณรงค์ปลอดลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลบ่อน้ำร้อน ไม่ให้ขยายพันธุ์หรือวางไข่ เพราะยุงลายเป็นภาหะที่นำโรคไข้เลือดออกและที่สำคัญของยุงลายจะแพร่ระบาดโดยคนสู่คนได้รวดเร็วมากและก่อให้เกิดผลข้างเคียงจะมีเลือดออกตามรองฟันและตามรูขุมขนและอุจจาระออกมาเป็นเลือดและมีโอกาสเสียชีวิตได้ โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2. เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย 3. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชม 4. เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชน
  1. ลดรายจ่ายในครัวเรือน
  2. ลดความแออัดในโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย
  3. สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชม
  4. ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรม ให้ความรู้เรื่องวิธีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำสุขภาพ
  2. อสม. แนะนำการจัดการลูกน้ำยุงลายด้วยวิธี 5 ป.     2.1 ปิด     2.2 เปลี่ยน     2.3 ปล่อย     2.4 ปรับปรุง     .5 ปฏิบัติ
  3. การให้ความรู้การดูแลตนเองและบุคคลในครัวเรือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยไข้เลือดออก
  2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 14:56 น.