กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คนบ้านเราห่วงใย ใส่ใจสุขภาพจิต ร่วมกันลดความเครียดเพื่อชีวิตที่ดี
รหัสโครงการ 66-L5178-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.จะโหนง
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 สิงหาคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,695.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประถม ประทุมมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี
0.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก
21.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่างเป็นปัจจัยภายใน เช่น ลักษณะนิสัย การจัดการปัญหา เป้นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยุู่อาศัย ปัญหาอาญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกตางกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด้ก วัยรุ่น วัยผุ้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดสุขชภาพจิตที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อกำจัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึนกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดปัญหาความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนทีสำคัญที่จะต้องป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการป่วยทางจิตกลายเป็นปัญหาอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันไป ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับจากสาเหตุของความเครียด ความกังวลของกลุ่มวัยทำงานรวมทั้งกลุ่มวัยอื่นด้วยมาจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ที่ครอบคลุมทั้งมิติทางรายได้และอาชีพ มิติสุขภาพประจำตัว จำเป็นต้องการการสนับสนุนการทำงานจากหลายภาคส่วน หลากหลายความเชี่ยวชาญ หลากหลายการสนับสนุน และหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย การทำงานโดยยึดพื้นที่ และเหตุแห่งความเครียด ความทุกข์เป็นหลักจะต้องมีการสาน เชื่อม หรือส่งต่อในทุกระดับกับหน่วยงาน บุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ บทบาทของกลไกการขับเคลื่อนงานต้องทำหน้าที่เชื่อมร้อยทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่เข้ามาหนุนเสริมกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับบริบท จังหวะและโอกาสที่เหมาะสมจึงจะสามารถขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงรุกบรรลุผลและเพิ่มสุข ลดทุกข์ให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนร่วมกัน การทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการตั้งแต่การปรับกรอบคิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกภาคส่วน การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ การติดตมาเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายเพื่อการหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

21.50 15.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,695.00 0 0.00
21 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและคัดเลือกอาสาสมัครแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน 0 625.00 -
23 ส.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำ และเครือข่ายป้องกันและเฝ้าระวังทางสุขภาพจิตในการค้นหาและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต 0 11,595.00 -
1 - 7 ก.ย. 66 ประเมินคัดกรองความเครียดแก่กลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการดำเนินการ 0 1,050.00 -
13 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน 0 16,620.00 -
1 - 10 ต.ค. 66 ติดตามเยี่ยมเพื่อเสริมพลังแก่ผู้มีปัญหาความเครียด 0 930.00 -
6 พ.ย. 66 เวทีถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ 0 2,875.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนมีการจัดการความเครียดของตนเองได้ดีส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566 00:00 น.