กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักสวนครัวโภชนาการดีชีวิตมีสุข
รหัสโครงการ 66-L3070-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนยาบีบรรณวิทย์
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจีรนุช เจริญยืน
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เด็กในวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจะได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สติปัญญาดี อาหารทุกมื้อจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับประทานทุกคน และได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง ( หมู่ เพื่อให้เด็กนักเรียน เติบโต เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มาพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นักเรียนได้บริโภคผักทุกวัน ซึ่งผักเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อ การทำงานของร่างกาย และเป็นแหล่งของใยอาหารที่ช่วยร่างกายกำจัดสิ่งหมักหมมในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ลดอาการ ท้องผูก ป้องกันริดสีดวงทวาร และโรคมะเร็งลำไส้ รวมถึงมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือดและช่วยใน การควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี แต่สืบเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ปุ๋ยจากสารเคมีมากกว่าปุ้ยอินทรีย์ ทางโรงเรียนยาบีบรรณวิทย์ มีแนวคิดที่จะ ส่งเสริมให้นักเรียนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จกการเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน เพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียนและผู้บริโภคผัก สวนครัว การเลี้ยงไส้เดือนดินเป็นการบำรุงรักษาสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย เพราะไส้เดือนดินช่วยย่อยสลายจะเกิด ผลดีต่อคุณภาพดินและช่วยพลิกฟื้นหน้าดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามรถสร้างอาชีพและรายได้เสริมให้กับเด็กนักเรียน โรงเรียนยาบีบรรณวิทย์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกพืชผักสวนครัวโภชนาการดีชีวิตมีสุข เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ได้ฝึกทำ การเกษตรและส่งสริมด้านโภชนาการให้นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ เหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และสติปัญญาที่ดี ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและมีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่

ร้อยละ 65 นักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีโปรตีนและประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่

70.00
2 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลดใช้สารเคมี ให้นักเรียนให้ความสำคัญการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยจากไส้เดือนดิน

ร้อยละ 80 นักเรียนลดการใช้สารเคมีแลใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยจากไส้เดือนดิน

70.00
3 3.เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลไส้เดือนดิน

ร้อยละ 80 นักเรียนสามารถผลิตปุ๋ยอินทย์จากมูลไส้เดือนดินและปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำไส้เดือน

70.00
4 4.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้เสริม

ร้อยละ 50 นักเรียนเกิดอาชีพและรายได้เสริม

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 34,450.00 3 34,450.00
22 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 4.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการปลูกผักสวนครัว 5.กิจกรรมอบรมช่องทางการวางจำหน่ายและการตลาด 50 11,200.00 11,200.00
1 ส.ค. 66 - 14 ก.ย. 66 2.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการเลี้ยงไส้เดือนดิน 3.กิจกรรมเลี้ยงไส้เดือนดินและทำปุ๋ยจากไส้เดือนดิน 50 12,750.00 12,750.00
21 ส.ค. 66 1.กิจกรรมอบรมหลักโภชนาการ 50 10,500.00 10,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและมีประโยชน์ ครบทั้ง ๕ หมู่ 2.นักเรียนลดการใช้สารเคมีและใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยจากไส้เดือนดิน 3.นักเรียนสามารถผลิตปุยอินทรีย์จากมูลไส้เดือนดินและปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำไส้เดือน 4.นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้เสริม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 15:41 น.