กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและตาม หลักสุขลักษณะในชุมชน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8411-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 26,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมูณา ฮามิดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid)ถึงแม้การแพร่ระบาดในปัจจุบันจะมีอัตราลดลงแล้ว ประเทศไทยก็ยังพบผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)    ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านั้นมีมุสลิมรวมอยู่ด้วยและยังต้องอาศัยการควบคุมและป้องกันที่มีมาตรฐานตามหลักมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและมีวิธีในการอาบน้ำศพหรือจัดการศพถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ
การอาบน้ำศพ หมายถึงการชำระล้างร่างกายให้ศพกระทำกันบนตักของผู้ทำความสะอาดจะเป็นศพหญิงหรือชายก็ตามการทำความสะอาดศพนั้น นอกจากจะทำความสะอาดส่วนของร่างกายภายนอกแล้ว ส่วนภายในที่ต้องทำด้วยก็คือ ภายในช่องทวารหนัก และช่องคลอด การปฏิบัติต่อศพ ต้องปฏิบัติอย่างนุ่มนวล กล่าวกันว่าเรือนร่างที่วิญญาณเพิ่งออกจากร่างนั้นย่อมมีความรู้สึกเจ็บปวดได้เหมือนกัน ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ให้แนวทางการดำเนินชีวิตเป็นโครงสร้างทางสังคมที่มีรากฐานมาจากความศรัทธานำไปสู่การปฏิบัติและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทุกด้านรูปแบบและวิธีการจัดการศพของมุสลิมนั้นมีคำอธิบายที่เชื่อมโยงกับหลักคำสอนของศาสนา การจัดการศพตามวิถีอิสลาม และมีนัยแห่งสารัตถะชีวิตในหลายมิติทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ
การอาบน้ำให้ศพ การห่อศพ การละหมาดญะนาซะอ (ละหมาดให้ศพ) และการฝังศพถือเป็นฟัรฎกิฟายะฮ ซึ่งในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการอาบน้ำทำความสะอาด หรือชำระสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดมากับศพ การจัดการศพให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะและหลักการตามศาสนบัญญัติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากผู้จัดการศพไม่มีความรู้ในการจัดการศพให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ อาจนำไปสู่การติดเชื้อต่างๆจากศพหรือเกิดการกระจายเชื้อที่มากับศพก็เป็นได้ เมื่อมุสลิมเสียชีวิตญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน(กโบร์) โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมงอิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่จะทำการอาบน้ำให้กับศพนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอาบน้ำศพตามหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำและห่อศพผู้เสียชีวิตนั้น โดยส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น การสวมถุงมือยางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เป็นต้น ซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์นั้น มีลักษณะหลายรูปแบบ ตามเหตุการณ์และสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อผู้ที่จัดการศพเองและคนในชุมชนได้ ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ Covid 19 ญาติหรือผู้ที่ทำการอาบน้ำศพ ยิ่งจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ และยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (19) ว่าด้วยเรื่องการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอาบน้ำศพและการจัดการศพให้ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ จึงได้จัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการอาบน้ำศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะในชุมชน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนาอิสลามเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ด้านการปฏิบัติ ทราบถึงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการอาบน้ำศพตามหลักศาสนาอิสลาม และเป็นการอนุรักษ์และเสริมสร้างประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

 

2 เพื่อให้ประชาชนในตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 26,160.00 2 26,160.00
18 ม.ค. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมายัต และการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 80 19,000.00 19,000.00
19 ม.ค. 67 กิจกรรมฝึกปฏิบัติการ การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมายัต และการห่อศพ ตามหลักศาสนา และตาหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 80 7,160.00 7,160.00

4.1 ขั้นเตรียมการ 4.1.1ประชุม ชี้แจงเพื่อจัดทำโครงการ 4..1.2 จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตาเนาะ  ปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ 4.1.3จัดทำโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ 4.1.4จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมอุปกรณ์ และการอาบน้ำมายัตฯ 4.2ขั้นดำเนินการ 4.2.1 กิจกรรมบรรยายความรู้ในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้อง ตามวิถีชีวิตชาวไทยมุสลิมได้อย่างถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม สิ่งที่ควรปฏิบัติแก่มุสลิมภายหลังเสียชีวิต มารยาทและดุอาอ์ที่เกี่ยวกับการจัดการศพ (มายัต)
4.2.2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมายัต และการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4.2.3 กิจกรรมฝึกปฏิบัติการ การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำมายัต และการห่อศพ ตามหลักศาสนา และตาหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4.2.4ประเมินผลการดำเนินงาน
4.2.5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2 ประชาชนในพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะ สามารถป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ
3 สามารถทำนุบำรุงศาสนาและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 14:35 น.