กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และป้องกันมะเร็งปากมดลูกตำบลช้างให้ตก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2976-10(1)-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินตนา สาหลำสุหรี
พี่เลี้ยงโครงการ นายสันติพงษ์ สืบสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.672,101.062place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย พบได้ตั้งแต่วัยสาวอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัย ชราอายุ 80 ปี แต่จะพบมากในช่วงอายุ 35 - 50 ปี และพบรองลงมาคือโรคมะเร็งเต้านม ใน ปีหนึ่งๆพบว่ามีสตรี ป่วยเป็นโรคนี้ทั่วโลก ทั้งที่โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ง่ายและสามารถป้องกันได้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำ ให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า 18 ปี การเปลี่ยนคู่นอน หลายคน กรรมพันธุ์ และวิถีการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค และโอกาสการเข้าถึงสถาน บริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อมีอาการของโรค โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ ถ้า พบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยสตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกๆเดือนและตรวจคัด กรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยการทำ Pap smear 3-5 ปี ต่อครั้ง ซึ่งได้มีการทำวิจัยแล้วว่าสามารถลดอัตราการเกิด และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขต้องคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้ได้ 80 % ภายในระยะเวลา 5 ปี(2563-2567) จากการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลช้างให้ตกปี 2562 คัดกรองได้ 15.54 % ปี 2563 คัดกรองได้ 21.30 % ปี 2564 คัดกรองได้ 20.39 % ปี 2565 คัดกรองได้ 7.76 % จำนวนเป้าหมายคัดกรอง ปี 2566 คัดกรองให้ได้อีก 11.84 % (จำนวน 58 คน) แต่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักและไม่ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองอีกมาก เพราะ ยังขาดความรู้ มีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเช่นการอ้างว่าผิดหลักศาสนา ความอายต่อเจ้าหน้าที่ และด้วยบริบทพื้นที่ตำบล ช้างให้ตก ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของตำบลช้างให้ตก ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการตรวจมะเร็ง ทำให้มีความ อายเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ กลัวเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจ จากปัญหาตังกล่าวศูนย์สุขภาพตำบลช้างให้ตก ได้จัดทำ โครงการขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ลด อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม และเมื่อตรวจพบโรคแล้วได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม ทันที เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 260 20,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้และตรวจมะเร็งปากมดลูด ประจำปี 2566 260 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการอบรม มีความ ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมาย 60 มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุ ขและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและ สามารถส่งต่อพบแพทย์ได้ทันที
  4. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 14:41 น.